ราคารวม : ฿ 0.00
ขอความเจริญในพระสัทธรรมจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน
อาตมาคิดว่าทุกท่านเคยได้ยินภาษิตที่ว่า “ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก” ท่านคิดว่าภาษิตนี้เกิดมาจากเหตุผลอะไร ? บางคนก็ไปเติมต่อว่า “ต่อหน้าแตงโม ลับหลังแตงไทย ต่อหน้ามะไฟ ลับหลังมะเฟือง” ฯลฯ
มะพลับเป็นผลไม้ที่มียาง ผลดิบจะมียาง ตะโกก็เป็นต้นไม้ที่มียาง ผลของมันก็มียาง ผลของมันเอามาตำ หมัก เอาไว้ย้อมด้าย ทำแหทำอวน แต่ความหมายของคนโบราณท่านไม่ได้หมายถึงอย่างนั้น แต่แปลว่า “ทั้งต่อหน้าและลับหลังต้องมียางอาย” คือมี...
หิริ - ละอายความชั่ว
โอตตัปปะ - เกรงกลัวผลของบาป
ราชบัณฑิตอธิบายอย่างไร อาตมาไม่ทราบ เพราะอาตมาเคยเป็นคนตำตะโกและมะพลับเพื่อนำมาหมักในการย้อมแห มีหวีสางแหทำจากเปลือกมะพร้าว เวลาสางต้องขึงสะดึงให้ตึง สางไปจะได้กลิ่นเหม็น แต่ยางมันเหนียว อาตมาก็นำมาคิด แล้วคนเดี๋ยวนี้เป็นไง ไม่มีทั้งมะพลับทั้งตะโก คือปราศจาก หิริ โอตตัปปะ คือ อายชั่ว กลัวบาป ทำชั่วกันซึ่ง ๆ หน้า เด็กหนุ่มสาวทำชั่วกันซึ่ง ๆ หน้า คนทำชั่วกันซึ่ง ๆ หน้า ลับหลังก็ทำ เชาบอกว่า “ต่อหน้าให้มียางเหมือนมะพลับ ลับหลังให้มียางเหมือนตะโก”
ถ้าคนปราศจาก หิริ โอตตัปปะ มันจะทำผิดศีลได้ทุกข้อแหละ แล้วจะทำความชั่วได้ทั้งหมด ดังนั้นในแบบเรียนของพระสงฆ์และสามเณรนั้น ในหมวดที่ ๒ ธรรมเป็นโลกบาลคุ้มครองโลกทุกประการ คือ หิริ โอตตัปปะ ถ้าคนมันหน้าด้านใจด้านทำต่อหน้าคนได้ลับหลังคนได้ ถือว่าเป็นคนชั่ว โลกไม่มีการคุ้มครอง ทำชั่วธรรมดาไม่เป็นไร แต่พวกทำชั่วอย่างแยบยล ไอ้ชั่วโกงชาติ พวกชั่วโกงชาติเลวที่สุด ไม่มี หิริ โอตตัปปะ และได้ไปแล้วเป็นเงินบาปทั้งนั้น
พระเทพปฏิภาณวาที
“เจ้าคุณพิพิธ”
แชร์ :
เขียนความคิดเห็น