ตอนที่ 11 : วันสำคัญ เดือนตุลาคม

 

 วันสำคัญเดือนตุลาคม มีดังนี้

 1 ตุลาคม   วันผู้สูงอายุสากล (International Day of Older Persons)      

 2 ตุลาคม 2566 (วันจันทร์แรกของเดือน) วันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day)         

 9 ตุลาคม    วันไปรษณีย์โลก (World Post Day)        

10 ตุลาคม   วันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day)       

13 ตุลาคม   วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9             

14 ตุลาคม    วันมาตรฐานโลก 

14 ตุลาคม    วันลดภัยพิบัติทางธรรมชาติระหว่างประเทศ        

15 ตุลาคม    วันไม้เท้าขาว (The White Cane Day), วันเกิด แมรี สโตปส์  นักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี และนักเขียนชาวสก็อต ,  สรรพสิริ วิรยศิริ บุคลากรที่มีบทบาทสำคัญมากคนหนึ่งในวงการสื่อสารมวลชนไทย และเป็นนักเขียนอาวุโส  รางวัลนราธิปพงศ์ประพันธ์       

16 ตุลาคม   วันอาหารโลก   

17 ตุลาคม   วันตำรวจแห่งชาติ 

17 ตุลาคม   วันเพื่อการขจัดความยากจนระหว่างประเทศ

21 ตุลาคม   วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ, วันพยาบาลแห่งชาติ, วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ, วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ          

29 ตุลาคม 2566 (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11) วันออกพรรษา            

29 ตุลาตม 2566 (แรม 1 ค่ำเดือน 11) วันตักบาตรเทโว          

23 ตุลาคม   วันปิยมหาราช    

24 ตุลาคม   วันสหประชาชาติ  

31 ตุลาคม   วันฮาโลวีน วันออมแห่งชาติ

------------------

วันสำคัญเดือนตุลาคม  

วันผู้สูงอายุสากล  1 ตุลาคม   

     วันผู้สูงอายุสากล (International Day of Older Persons) 

     ปัจจุบันประชากร “วัยสูงอายุ” เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี โดยองค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ. 2025 (พ.ศ. 2568) จะมีประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปี ถึง 1,200 ล้านคน ทั่วโลก และในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) จะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ทั่วโลกถึงเกือบ 2,000 ล้านคนเลยทีเดียว ดังนั้น “วันผู้สูงอายุสากล” ถือเป็นวันสำคัญของผู้สูงอายุทั่วโลก เพราะแต่ละแห่งทั่วโลกจะได้จัดงานเฉลิมฉลองให้กับผู้สูงอายุ เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ให้คนทั่วไปตระหนักว่า ชั่วชีวิตที่ผ่านมาผู้สูงอายุได้สร้างคุณประโยชน์ คุณงามความดีไว้มากมาย รวมทั้งสรรค์สร้างทุกๆ สิ่งมาให้กับสังคมตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน   

     อีกสิ่งหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้น คือ “ดอกลำดวน” เป็นสัญลักษณ์แทนของผู้สูงอายุ โดยมีที่มาที่ไปเนื่องจากต้นลำดวนหรือหอมหวล (Melodorum fruticosum Lour) ตามชื่อไทยพื้นเมือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphaerocoryne clavipes จัดอยู่ในวงศ์ Annonaceae เป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มากในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี คอยให้ความร่มเย็น ลำต้นของลำดวนมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอมเย็น กลีบแข็งแรงไม่ร่วงง่าย เปรียบเหมือนกับผู้ทรงวัยวุฒิที่คงคุณธรรมคุณงามความดีให้กับลูกหลานไว้เป็นแบบอย่างสืบต่อไป

      สำหรับในประเทศไทย ได้ตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุเช่นกัน โดยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้กำหนดให้วันที่ 13 เม.ย. ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันสงกรานต์ และวันปีใหม่ของไทย เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ   เมื่อทราบความสำคัญของ “วันผู้สูงอายุ” แล้ว.. ขอให้ทบทวนว่า เราได้เอาใจใส่ต่อผู้สูงอายุแล้วหรือยัง อย่ารอช้า! รีบไปแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านทันที แต่เดี๋ยวก่อนไม่ใช่ทำแค่วันนี้นะ ขอให้ทำทุกวันตลอดไป

วันที่อยู่อาศัยโลก วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม 

      วันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) 

      โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN – HABITAT) เป็นโครงการของสหประชาชาติที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมในทุกปีเป็นวันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) 

     วันที่อยู่อาศัยโลกปี 2565 ประเทศไทย ภายใต้แนวคิด ใส่ใจช่องว่าง ไม่ทิ้งใครและที่ใดไว้ข้างหลัง   (Mind the Gap. Leave No One and No place Behind) ภายในงาน “20 ปี พม. เสริมพลัง สร้างโอกาส พัฒนาคนทุกช่วงวัย”  การพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศไทยตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ  20  ปี พ.ศ. 2560 – 2579 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม และการสร้างโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการและบริการของรัฐ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาส  

      พอช.เดินหน้า ‘แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)’สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช.  มีเป้าหมายดำเนินจำนวน 1 ล้าน 5  หมื่นครัวเรือน   กลุ่มเป้าหมายเป็นชุมชนที่มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่ดินและที่อยู่อาศัยที่มั่นคงทั่วประเทศ

      นายชัชชาติ  สิทธิพันธุ์  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  กล่าวกับผู้ร่วมชุมนุมว่า  วันนี้เป็นวันสำคัญ  เป็นวันที่อยู่อาศัยโลก  World  Habitat  Day  ที่อยู่อาศัยถือเป็นเรื่องสำคัญ   หากมีที่อยู่อาศัย  ชีวิตก็จะมั่นคง ลูกก็จะมีการศึกษา  มีงานทำ   เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ที่สำคัญ  หน้าที่หลักของหน่วยงานราชการคือการช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยประชาชนอย่างเต็มที่  ในส่วนของกทม. ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน

      “ส่วนเรื่องพี่น้องคนไร้บ้านก็เป็นเรื่องใหญ่  ต้องยืนยันว่าไร้บ้าน  แต่ไม่ไร้สิทธิ์  ไม่ไร้โอกาส   เราต้องสร้างโอกาส สร้างสิทธิให้เขาเหมือนกับคนทั่วไป   คือคนไทยที่มีสิทธิเหมือนพวกเราทุกคน  แต่บางทีอาจจะโชคร้ายชั่วคราว เพราะฉะนั้นเราต้องหาที่ที่ให้เขายืนหยัดและกลับมาสู่สภาพปกติได้”  ผู้ว่า กทม.กล่าว  และยืนยันว่าจะช่วยเหลือประชาชนเต็มกำลัง ถ้าแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยได้  จะทำให้พลังสำคัญของเมืองกลับคืนมา

วันไปรษณีย์โลก  9 ตุลาคม 

     วันไปรษณีย์โลก (World Post Day)   

      วันไปรษณีย์โลก (World Post day) จะมีขึ้นทุกปีในวันที่ 9 ตุลาคม เพื่อเป็นการระลึกถึง วันเริ่มก่อตั้งสหภาพไปรษณีย์สากล (Universal Postal Union หรือ UPU) และเป็นวันลงนามสนธิสัญญาแบร์น ในปีพ.ศ. 2417 (1874) ที่กรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การก่อตั้งสหภาพไปรษณีย์สากล หรือชื่อแรกเริ่มคือ สหภาพไปรษณีย์ทั่วไป (General Postal Union) และลงนามสนธิสัญญาในครั้งนั้น เพื่อประสานและวางระเบียบบริการไปรษณีย์ทั่วโลก เพื่อให้การแลกเปลี่ยนไปรษณีย์ระหว่างประเทศเป็นไปอย่างเสรี

      และต่อมาในปี พ.ศ. 2512 สมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย จึงได้กำหนดให้วันที่ 9 ตุลาคม เป็นวันไปรษณีย์โลก (World Post Day) และประเทศสมาชิกตกลงร่วมกันที่จะเฉลิมฉลองในโอกาสนี้โดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเน้นย้ำถึงบทบาทของบริการไปรษณีย์ที่ยังคงมีต่อสังคมและประชาชนผู้ใช้บริการ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่มีการดำเนินการจัดงานวันไปรษณีย์โลก พร้อมกับมีการจัดสร้างแสตมป์ชุดวันไปรษณีย์โลก 9 ตุลาคมทุก ๆ ปีด้วย

วันสุขภาพจิตโลก  10 ตุลาคม    

    วันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day)

      "วันสุขภาพจิตโลก" หรือ World Mental Health Day ถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2535 โดยการริเริ่มของ ริชาร์ด ฮันเตอร์ (Richard Hunter) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง เลขาธิการใหญ่ของสหพันธ์สุขภาพจิตโลก (World Federation for Mental Health) ตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 30 กว่าปี ที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันสุขภาพจิตโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ รณรงค์ให้ประชากรทั่วโลก ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิต และปัญหาการเจ็บป่วยทางจิต 

      ทั้งนี้ สุขภาพกายและสุขภาพจิต จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรต้องได้รับการสนับสนุนส่งเสริมไปด้วยกัน ผู้ที่มีโรคทางกายเรื้อรัง จิตใจก็จะเป็นส่วนสำคัญที่คอยประคองให้ผู้ป่วยมีกำลังใจ และร่วมมือในการรักษา เพื่อต่อสู้โรคทางกายต่อไปอย่างมุ่งมั่น แต่หากมีปัญหาทางจิตใจที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ก็จะส่งผลซ้ำเติมโรคทางกายที่เป็นอยู่ จนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ สิ้นหวัง หรือแม้กระทั่งไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป จึงเป็นที่มาของ วันสุขภาพจิตโลก

      การมีสุขภาพที่ดีเป็นหนึ่งในข้อสำคัญของชีวิตคนเรา ซึ่งไม่ได้ถึงร่างกายภายนอกเท่านั้น สุขภาพทางด้านจิตใจก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เพราะหากเรามีสุขภาพจิตใจที่ดีแล้ว ย่อมส่งผลต่อภาวะอารมณ์ในการจัดการกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างดี สำหรับวิธีการสร้างสุขภาพจิตที่ดีก็ทำได้ไม่ยาก เรามาดูกันค่ะว่ามีวิธีไหนบ้าง

      1.ฝึกทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส มองโลกในแง่ดี ฝึกเป็นคนสุขุมรอบคอบ ไม่ใจร้อน โกรธง่าย ไม่เอาจริงเอาจังกับทุกอย่างจนเกินไป ไม่หวั่นไหวง่าย ไม่ควรหมกมุ่นกับเรื่องไร้สาระ

      2.เสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือเพื่อนฝูง สังคมล้อมรอบเรา เปิดใจความรู้สึกของตนเอง และเข้าใจถึงจิตใจของผู้อื่น รู้จักให้เวลาตนเอง และคนสำคัญในชีวิต ให้มีเวลา กิจกรรม ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

      3.ดูแลรักษาสุขภาพทั้งกายและจิตใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ

      4.เมื่อมีความเครียดทางจิตใจหรือมีปัญหา ควรหาโอกาสผ่อนคลาย ด้วยการทำงานอดิเรก ออกกำลังกายจะทำให้มีจิตใจที่สบาย

วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9  วันที่ 13 ตุลาคม    

      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2557 ตามที่สำนักพระราชวังได้แถลงให้ทราบเป็นระยะ 

      แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ถึงวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองพระราชสมบัติได้ 70 ปี 

วันมาตรฐานโลก 14 ตุลาคม    

วันมาตรฐานโลก(World Standards Day) วันที่ 14 ตุลาคม 

  วันที่ 14 ตุลาคม ของทุกปีเป็น “วันมาตรฐานโลก” เป็นวันที่ระลึกถึง การก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศ ว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization – ISO) ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้น ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2490 โดยมีผู้แทนจาก 25 ประเทศ มาร่วมกันประชุม ณ กรุงลอนดอน ปัจจุบัน ISO มีสมาชิกทั้งสิ้น 124 ประเทศ และหนึ่งในนั้น ก็มีประเทศไทยรวมอยู่

วันลดภัยพิบัติทางธรรมชาติระหว่างประเทศ 

วันพุธที่สองของเดือนตุลาคม   

     วันลดภัยพิบัติทางธรรมชาติระหว่างประเทศ (International Day For Natural Disaster Reduction)       

      ภัยพิบัติทางธรรมชาติสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศและต่อมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน มนุษย์ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถระวังคาดการณ์เพื่อหลีกเลี่ยง และช่วยดูแลรักษาสภาพแวดล้อมไม่ทำลายธรรมชาติได้ เพราะหากธรรมชาติเสียสมดุลจะเร่งภัยพิบัติให้รุนแรงขึ้น

      ผลการประชุมสามัญขององค์การสหประชาชาติ ค.ศ. 1989 กำหนดให้ วันพุธที่สองของเดือนตุลาคม เป็น วันลดภัยพิบัติทางธรรมชาติระหว่างประเทศ (International Day for Natural Disaster Reduction) ซึ่งได้มีการปฏิบัติต่อเนื่องมากว่า 1 ทศวรรษ ระหว่าง ค.ศ. 1990 - 1999

     ในปี 2022 ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งได้กำหนดประเด็นสำคัญที่จะขับเคลื่อนการณรงค์ในห้วงวันการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน ได้แก่ “รวมพลัง รวมใจ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพท้องถิ่นให้มีภูมิคุ้มกันจากภัยพิบัติอย่างสมดุล” ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นรณรงค์ขององค์การสหประชาชาติเนื่องในวันลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสากล ประจำปี 2565 ได้แก่ “เตือนภัยล่วงหน้าได้เร็วทุกคนจะเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติได้อย่างรวดเร็ว” (Early Warning, Early Action for All) โดยเน้นถึงการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  ตามกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ  ที่มีเป้าหมายในการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลความเสี่ยงและระบบการเตือนภัยได้อย่างทั่วถึงภายในปี 2573 

วันไม้เท้าขาว  15 ตุลาคม

วันไม้เท้าขาวโลก (White Cane Safety Day)  

     "วันไม้เท้าขาว" ตรงกับวันที่ 15 ต.ค.ของทุกปี ในสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของผู้ที่ตาบอดหรือผู้พิการทางสายตา โดยไม้เท้าขาวถือเป็นสัญลักษณ์สากลของคนตาบอดทั่วโลก และเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่อิสรภาพ

     วิชาที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับคนตาบอดในการเคลื่อนไหวและการเดินทางคือวิชา ความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว ซึ่ง ดร.ริชาร์ด อี ฮูเวอร์ เป็นผู้ริเริ่มและพัฒนาขึ้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเห็นประโยชน์และความสำคัญของไม้เท้าขาวที่มีต่อคนตาบอด ประธานาธิบดีลินดอน บี.จอห์นสัน จึงประกาศให้วันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันไม้เท้าขาวโลก (THE WHITE CANE DAY) ตั้งแต่ พ.ศ.2507 เป็นต้นมา

     นิตยสารทางการแพทย์ของอังกฤษ แลนเซตโกลบอลเฮลท์ (Lancet Global Health) คาดการณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะมีผู้พิการทางสายตาเพิ่มเป็น 115 ล้านคนในปี 2050 หากยังไม่มีเงินทุนในการรักษาที่เพียงพอ โดยจำนวนประชากรและจำนวนผู้สูงอายุที่มีมากขึ้น ซึ่งมักเป็นโรคต้อกระจกและสายตายาว รวมถึงการรักษาโรคตาที่ไม่ถูกวิธี มีส่วนในการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้พิการทางสายตา

15 ตุลาคม พ.ศ.2423 วันเกิด แมรี สโตปส์

     แมรี สโตปส์ แพทย์ผู้บุกเบิกวิชาการวางแผนครอบครัว นักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี และนักเขียนชาวสก็อต  

15 ตุลาคม สรรพสิริ วิรยศิริ           

นับเป็นบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญมากคนหนึ่งในวงการสื่อสารมวลชนไทย และเป็นนักเขียนอาวุโส  รางวัลนราธิปพงศ์ประพันธ์   

     15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 สรรพสิริ วิรยศิริ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ) ถึงแก่กรรม ขณะมีอายุ 92 ปี สรรพสิรินับเป็นบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญมากคนหนึ่งในวงการสื่อสารมวลชนไทย สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยประกาศเกียรติคุณ ให้เป็นนักเขียนอาวุโส ผู้มีผลงานเป็นที่ยกย่องกว้างขวาง จึง เป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัลนราธิป ครั้งที่ 2 ประจำปี 2545

วันอาหารโลก 16 ตุลาคม       

     วันอาหารโลก (World Food Day) ก่อตั้งโดย องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations)  ได้กำหนดให้วันที่ 16 ตุลาคม (ซี่งตรงกับวันก่อตั้งองค์การ) ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนัก และเกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาความอดอยาก หิวโหย และทุพโภชนาการ   

      ปัญหาความอดอยาก หิวโหย และทุพโภชนาการ ถูกกำหนดเป็น 1 ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ซึ่งมีกรอบระยะเวลา 15 ปี (ปี พ.ศ. 2558-2573)

     ต้องยอมรับว่าโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่จากการเพิ่มขึ้นของประชากร โดยองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้คาดการณ์ว่า ประชากรโลกจะเพิ่มจำนวนจากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 7.3 พันล้านคนเป็น 8.5 พันล้านคน ในปี 2030 และเพิ่มเป็น 11.2 พันล้านคนในปี 2100 ส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะขาดแคลนทรัพยากรโดยเฉพาะอาหารเนื่องมาจากปริมาณความต้องการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น

     5 เมกะเทรนด์ เทรนด์ Future Food รับวันอาหารโลก 2022  

1.แมลง อาหารโปรตีนทางเลือก ที่สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรกรไทยได้

2.เนื้อสัตว์จากพืช (Plant Based Meat) ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารสู่ความยั่งยืน

3.3D Printing Food นวัตกรรมวางแผนการผลิตอาหารในอนาคต

4.เนื้อสัตว์จากห้องทดลอง (Lab Grown Meat, Cultured meat) อาหารดีที่ช่วยลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคปศุสัตว์อย่างได้ผล

5.สาหร่าย อาหารอุดมไปด้วยประโยชน์ 

     สำหรับสินค้า อาหารแห่งอนาคต (Future Food) ที่เป็น Mega Trend ของโลก ที่กำลังได้รับความนิยมและมีทิศทางการส่งออกที่ดีใน 5 กลุ่มได้แก่

1.อาหารที่คำนึงถึงโลก สภาพอากาศ และความยั่งยืน

2.Flexitarian Vegan Foods (มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น)

3.Whole Food (อาหารที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรือผ่านการปรุงแต่งน้อย)

4.Immunity Boosting Food (อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน/ เสริมสร้างสุขภาพ)

5.Functional foods (อาหารที่มีสารอาหารหรือคุณค่าอาหารเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ) ในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น Vegan Egg, Functional Fizzy Drink, Healthy Probiotic & Fiber Drink

     นอกจากนี้ภาคธุรกิจที่สนใจผลิตอาหารอนาคต ควรมองหาช่องทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการสนับสนุนข้อมูลแนวโน้มสินค้า ตลาด รวมถึงรายชื่อผู้นำเข้าจากตลาดต่างประเทศ และผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภค สิ่งที่ควรทำต่อมาก็คือ ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

วันตำรวจไทย   17 ตุลาคม   

      เนื่องจากวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เป็นวันประกาศรวม "กรมพลตระเวน"  กับ "กรมตำรวจภูธร" เป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมตำรวจ"  (ในภายหลังได้เปลี่ยนเป็น "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ")  

      เดิมทีวันที่ 13 ตุลาคมนั้นเป็นวันตำรวจไทย แต่เพื่อร่วมแสดงความเคารพเทิดทูนต่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระองค์ ดังนั้น พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในขณะนั้น จึงมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงวันตำรวจไทยไปเป็นวันที่ 17 ตุลาคม

      อาชีพตำรวจเป็นอาชีพที่มีเกียรติและศักดิ์ศรีที่ได้มาจากการช่วยเหลือประชาชน เส้นทางของตำรวจไม่ว่าจะส่วนงานใด สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องไม่ละทิ้งอุดมการณ์ เพื่อให้ตำรวจยังคงเป็นอาชีพที่น่ายกย่องและได้เชิดชูวันตำรวจไทยต่อไป

 21 ตุลาคม วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ 

      วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี ตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทย เนื่องจากพระองค์ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและเวลาเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยาก และสมควรนำมาเป็นแบบอย่างในการประพฤติตนและการปฏิบัติงานเพื่อสังคมส่วนรวม ซึ่งในปี 2542 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้เฉลิมพระเกียรติยกย่องให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ : การพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม  

      เมื่อปี 2528 คณะรัฐมนตรีในเวลานั้นได้กำหนดให้วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ เนื่องจากวันที่ 21 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2443 เพื่อเป็นการรำลึกที่พระองค์ได้ทรงอุทิศพระวรกายและสละเวลาให้แก่ประชาชนตลอดมา   ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "พระมารดาแห่งการสังคมสงเคราะห์" และ "พระมารดาแห่งการแพทย์ชนบท"

วันออกพรรษา 29 ตุลาคม 2566    (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11)             

วันตักบาตรเทโว 29 ตุลาตม 2566  (แรม 1 ค่ำเดือน 11)          

     

วันปิยมหาราช  23 ตุลาคม น้อมเกล้ารำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

       วันที่ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวันสำคัญของชาติและกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรไทย พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช  

      พระราชกรณียกิจอีกประการที่สำคัญยิ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การเลิกทาส พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ให้มีการเลิกทาสให้เป็นไทตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์  ในปี พ.ศ. 2416 พระองค์ได้ทรงตราพระราชบัญญัติทาส ห้ามคนที่เกิดในรัชกาลปัจจุบันเป็นทาส และต่อมาพระองค์ทรงตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2417  ด้วยพระวิริยะอุตสาหะทำให้ทรงประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไทโดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อแม้แต่หยดเดียว

       นอกจากนี้ การเสด็จประพาสต้น ก็เป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการเสด็จพระราชดำเนินเป็นการลับทางรถไฟหรือไม่ก็ทางเรือ ทรงแต่งพระองค์อย่างสามัญชน เพื่อทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร      

      ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ  

      เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวงของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ   

วันสหประชาชาติ   24 ตุลาคม 

วันสหประชาชาติ  (United Nations Day)    

      เพื่อระลึกถึงวันที่องค์การสหประชาชาติ ( UNITED NATIONS ) ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 การก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นเพื่อนำสันติภาพมาสู่โลก อีกทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ให้กับประเทศสมาชิก ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 184 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ประเทศไทยเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 เป็นสมาชิกลำดับที่ 55 

      สหประชาชาติ หรือ องค์การสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations, ตัวย่อ: UN; ฝรั่งเศส: Organisation des Nations unies, ตัวย่อ: ONU) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประเทศ บรรลุความร่วมมือระหว่างประเทศ และเป็นศูนย์กลางสำหรับการประสานงานของการกระทำของชาติต่าง ๆ มันเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่มีขนาดใหญ่ ที่มีความรู้สึกคุ้นเคย เป็นตัวแทนในระดับสากลมากที่สุด และทรงอำนาจมากที่สุดในโลก ยูเอ็นนั้นมีสำงานใหญ่ในดินแดนระหว่างประเทศในนครนิวยอร์ก โดยมีสำนักงานหลักอื่น ๆ ในเจนีวา ไนโรบี เวียนนา และเฮก

วันฮาโลวีน   31 ตุลาคม

 วันฮาโลวีน มาเกี่ยวกับเรื่องผีๆ สางๆ ได้ยังไงล่ะ?

      วันฮาโลวีน เป็นงานฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคม ประเทศทางตะวันตก เด็กๆ จะแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจพากันชักชวนเพื่อนฝูงออกไปงานฉลอง ส่วนกิจกรรมประจำเทศกาลก็จะมีการเล่น ทริค ออ ทรีท มีการแต่งตัวเป็นผีไปร่วมงานปาร์ตี้ เล่นเกมทดสอบความกล้า เล่นรอบกองไฟ ผจญภัยในสถานที่สยองขวัญ เล่นพิเรน อ่านเรื่องสยองขวัญ และชมภาพยนต์สยองขวัญ มีการประดับประดาแสงไฟ และที่สำคัญคือแกะสลักฟักทองเป็นโคมไฟ เรียกว่า แจ๊ก-โอ’-แลนเทิร์น (jack-o’-lantern) 

      วันฮาโลวีน มาเกี่ยวกับเรื่องผีๆ สางๆ ได้ยังไงล่ะ? คาดว่าน่าจะมาจากตำนานที่มีมากว่า 2,000 ปี จากความเชื่อของชาวเซลติก (ชนพื้นเมืองตอนเหนือของยุโรป) ระบุเอาไว้ว่า ช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็น เทศกาลบูชาเทพเจ้าแห่งความตาย ก่อนจะเข้าสู่ฤดูหนาว โดยจะนำเหล้า และอาหารออกมาวางนอกบ้าน เพื่อให้เทพเจ้าแห่งความตายได้ดื่มกิน แต่บ้างก็ว่า วันที่ 31 ตุลาคม เป็น วันปล่อยผี (คงคล้ายๆ กับวันทำบุญเดือนสิบของไทย)

วันออมโลกแห่งชาติ  31 ตุลาคม

วันออมโลก World Thrift Day 

      วันออมโลก World Thrift Day เป็นวันที่นานาประเทศนิยมเป็นสากล โดยถือวันสุดท้ายของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็น วันออมสินโลก ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในการประชุมที่กรุงมิลาน ประเทศอิตาลี เมื่อ ค.ศ. 1924 หรือ พ.ศ. 2467 เพื่อให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของ การออม ต่อมาใน ค.ศ. 1996 หรือ พ.ศ. 2539 องค์การสหประชาชาติ ได้เฉลิมฉลอง 50 ปี สถาบันธนาคารออมสินโลกและกลุ่มธนาคารทั่วทั้งยุโรป จึงได้ประกาศให้วันที่ 31 ตุลาคม เป็น วันแห่งการประหยัดและออมโลก เพื่อปลูกฝังค่านิยมและนิสัยรักการออม อันเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนาและเสริมสร้างความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ ของประเทศ 

       สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2541 กำหนดให้วันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันออมแห่งชาติ” เพื่อส่งเสริมให้คนไทย มีนิสัยรักการออม รวมทั้งเพื่อให้ประชาชน ตระหนักถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการออมเงิน ว่าเป็นส่วนสำคัญของชีวิตที่จะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องขาดมิได้

 “การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเอง และครอบครัวช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”

      พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 31 ธันวาคม 2502

 


อ่าน : 0

แชร์ :


เขียนความคิดเห็น