ราคารวม : ฿ 0.00
เมษายน เป็นเดือนที่ 4 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน (เขียนย่อ เม.ย. ภาษาปากเรียก เมษา หรือเดือนเมษา)
ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนเมษายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพฤษภ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนเมษายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปลาและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวแกะ
ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนเมษายนใน พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน
1 เมษายน - วันข้าราชการพลเรือนในประเทศไทย
2 เมษายน - วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, วันสายใจไทย, วันอนุรักษ์มรดกไทย และวันหนังสือเด็กแห่งชาติในประเทศไทย
5 เมษายน - วันคล้ายวันพระราชสมภพ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
6 เมษายน - วันจักรีในประเทศไทย
7 เมษายน - วันอนามัยโลก
13-15 เมษายน - วันสงกรานต์ในประเทศไทย
14 เมษายน - วันครอบครัวในประเทศไทย
21 เมษายน - วันเกิดกรุงเทพมหานคร
22 เมษายน - วันคุ้มครองโลก
23 เมษายน - วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล
24 เมษายน - วันเทศบาลในประเทศไทย
25 เมษายน - วันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
29 เมษายน - วันเต้นรำสากล, วันพฤกษชาติในญี่ปุ่น, วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ
30 เมษายน - วันคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย
--------------------
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๓๒๕ ต่อมาในวันที่ ๒๑ เมษายนปีเดียวกัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาอยู่ฝั่งตะวันออก พร้อมทั้งพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า
“กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" ต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยที่ว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์”
เมื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษแล้วจะมีอักษรถึง ๑๖๙ ตัว กินเนสบุ๊คจึงจดบันทึกว่าเป็นชื่อยาวกว่าชื่อทั้งหลายในโลก มีความหมายว่า “พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร อันเป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครสามารถรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้ว ๙ ประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้”
ปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นพิษได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสีย อากาศเป็นพิษ หรือการตัดไม้ทำลายป่าที่ส่งผลให้เกิดวาตภัย หรืออุทกภัยอย่างฉับพลัน นอกจากนั้นก็ยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นปัญหาโลก เช่นปัญหาการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก หรือ "Green House Effect" ปัญหาปริมาณโอโซนในบรรยากาศลดลง หรือปัญหาพลังงานของโลกที่จะต้องหามาทดแทนการใช้น้ำมัน เป็นต้น
ดังนั้นในวันที่ 22 เมษายน 2513 ประชาชนอเมริกันที่ตะหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมกว่า 20 ล้านคน จึงได้พร้อมใจกันมาชุมนุมเพื่อประท้วงการเพิ่มขึ้นของมลภาวะ และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นโลก ผลจากการชุมนุมก่อให้เกิดการออกพระราชบัญญัติแก้ไขมลพิษในอากาศของสหรัฐอเมริกา และมีการจัดตั้งสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น และกำหนดให้วันที่ 22 เมษายน ของทุกปีเป็นวันคุ้มครองโลก หรือ "Earth Day" ในประเทศไทยเริ่มจัดให้มีการรณรงค์ขึ้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.253
วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (อังกฤษ: World Book and Copyright Day หรือ International Day of the Book or World Book Days) ตรงกับวันที่ 23 เมษายน ของทุกปี ดำเนินการโดยยูเนสโก เพื่อประชาสัมพันธ์การอ่าน การตีพิมพ์ และลิขสิทธิ์ โดยเริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 1995
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินของไทยใหม่ ให้ทันสมัยเป็นอันเดียวกันกับนานาอารยะประเทศ โดยจัดให้มีการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในรูปแบบสุขาภิบาล ที่สุขาภิบาลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2441 และได้ขยายการตั้งสุขาภิบาลออกไปในท้องถิ่นต่างๆ เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ
ต่อมาเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 ซึ่งได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล จนกระทั่งได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 จนถึงปัจจุบัน
เพื่อตระหนักถึงบทบาท และความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีการประกาศลงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 กำหนดให้วันที่ 24 เมษายนของทุกปีเป็น "วันเทศบาล"
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีพระนามเดิมว่าพระนเรศ หรือ "พระองค์ดำ" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิกษัตรีย์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก มีพระเชษฐภคินีคือพระสุพรรณกัลยา มีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 ครองราชสมบัติ 15 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 สิริพระชนมพรรษา 49 พรรษา
ราชการสงครามใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร (ประสูติ 29 เมษายน พ.ศ. 2548) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี (ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) ถือเป็นรัชทายาทโดยสันนิษฐาน ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานพระนามว่า "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ" เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และพระราชทานเสมาอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.ทองคำ ส่วนพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชตินั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระมหากรุณาธิคุณอธิบายพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ว่า "ผู้ทำประทีปคือปัญญาให้สว่างกระจ่างแจ้ง, ผู้ทำเกาะคือที่พึ่งให้รุ่งเรืองโชติช่วง"
การสมรส คือ การที่ชายและหญิงจะเริ่มต้นชีวิตครอบครัว สร้างหลักฐานให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น และมีผู้สืบสกุลต่อไป ชายและหญิงที่จะมาอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกราบรื่น โดยตลอดนั้นจำเป็นต้องยึดหลักธรรมะหลายประการ เช่น คหบดีธรรม หรือธรรมะของผู้ครองเรือน ได้แก่ 1. สัจจะ ซื่อสัตย์ต่อกัน ไว้วางใจกัน และจริงใจต่อกัน 2. ทมะ รู้จักข่มจิต มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่แสดงความหุนหันพลันแล่น 3. ขันติ อดทน ต่อความยากลำบาก อดทนหากอีกฝ่ายหนึ่งมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรืออดทนต่อสิ่งไม่พอใจต่างๆ 4. จาคะ การให้ การเสียสละ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันทั้งด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ และกำลังปัญญา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบัญญัติถ้อยคำเกี่ยวกับการสมรสไว้เป็น 3 อย่าง คือ ข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์เรียกว่า "สมรส" พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้าเรียกว่า "เสกสมรส" เจ้าฟ้าเรียกว่า "อภิเษกสมรส"
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลรัชกาลที่ 9 "ราชาภิเษก" ได้มีพระบรมราชโองการสถาปนาพระอัครมเหสี โดยประกาศวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2493 ความตอนหนึ่งว่า "มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า "ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ถูกต้องตามกฎหมายและราชประเพณี
เมื่อ พ.ศ.2512 ได้มีเจ้าหน้าที่สหพันธ์องค์การผู้บริโภคระหว่างประเทศ ได้เข้ามาชักชวนองค์การเอกชนในประเทศไทยให้เข้าร่วม แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากองค์การเอกชนของประเทศไทยขณะนั้นยังไม่พร้อม อย่างไรก็ตามสหพันธ์องค์การผู้บริโภคระหว่างประเทศก็มิได้ย่อท้อ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาชักชวนมาเป็นระยะ จนกระทั่งครั้งที่ 3 องค์การเอกชนของประเทศไทยได้รับการชักชวนได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการศึกษาปัญหาผู้บริโภคมีชื่อว่า กรรมการศึกษาและส่งเสริมผู้บริโภค ในปี พ.ศ.2514
จนกระทั่งปี พ.ศ.2522 ในสมัย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นของ การคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้พิจารณายกร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง บริโภค และรัฐบาลได้เสนอต่อรัฐสภา มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้เป็นกฎหมายได้ รัฐบาลจึงได้นำร่างขึ้นบังคมทูล ซึ่งได้มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ทรงลงพระปรมาภิไธย ได้ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2522 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่มที่ 96 ตอนที่ 72 วันที่ 4 พฤษภาคม 2522 มีผลการใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2522 เป็นต้นมา
แชร์ :
เขียนความคิดเห็น