ตอนที่ 10 : วันสำคัญ เดือนกันยายน

วันสำคัญ เดือนกันยายน

1 กันยายน วันสืบ นาคะเสถียร 

8 กันยายน วันระลึกปีสากลแห่งการรู้หนังสือ 

8 กันยายน วันการศึกษานอกโรงเรียน

16 กันยายน วันโอโซนสากล  

19 กันยายน วันพิพิธภัณฑ์ไทย

20 กันยายน วันอนุรักษ์และรักษาคูคลองแห่งชาติ 

20 กันยายน วันเยาวชนแห่งชาติ 

20 กันยายน วันรัฐวิสาหกิจไทย 

20 กันยายน วันเยาวชนแห่งชาติ

21 กันยายน วันอัลไซเมอร์

24 กันยายน วันมหิดล

 

วันสืบ นาคะเสถียร 1 กันยายน

หนึ่งเปรี้ยง! ปืนลั่นสะท้านป่า    หนึ่งวูบไหวผวา ทั้งป่าลั่น

หนึ่งคืน นานยาวราวกัปกัลป์    หนึ่งฝันฟุบแล้วลับแนวไพร

หนึ่งคน ควรค่าคารวะ   สืบสร้างสัจจะ ยิ่งใหญ่

หมื่นคำร่ำหาอาลัย   รวมใจสืบทอดเจตนา

จิรนันท์ พิตรปรีชา  ผู้ประพันธ์ (3 กันยายน 2533)

      สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัด อุทัยธานี แลกชีวิตของตนเองเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533

      ก่อนรุ่งสางของวันที่ 1 กันยายน 2533 ที่บ้านพักของ สืบ นาคะเสถียร ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เสียงปืนนัดหนึ่งดังขึ้นท่ามกลางป่าใหญ่ ทว่าเสียงปืนนัดนั้นมิได้เงียบหายไปเหมือนเสียงปืนนัดอื่นๆ หากแต่ยังดังก้องสะท้อนต่อมาอีกนับหลายสิบปี…

      สืบ นาคะเสถียร  นักวิชาการ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชายผู้เอาชีวิตเข้าแลกพื่อเรียกร้องให้สังคมหันมาสนใจ ให้ความสำคัญและปกป้อง ผืนป่า และสัตว์ป่า

      เพื่อ ปลุกจิตสำนึกของคนในสังคมให้ตื่นขึ้น ให้รับทราบความเป็นไปของสถานการณ์ป่าไม้ และ สัตว์ป่าเมืองไทย คุณสืบ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นจริงจังใน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ภายหลังการเสียชีวิตของคุณสืบ 18 วัน มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร  ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 18 กันยายน 2533 วันเดียวกับการครบรอบ 94 ปีของกรมป่าไม้ หน่วยงานต้นสังกัดของนักอนุรักษ์นี้

    26 เมษายน 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินมาที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เพื่อทรงเปิดอนุสรณ์สถานสืบนาคะเสถียร

     เรื่องราวของคุณสืบ นาคะเสถียร  "ผู้ชายในแสงแดด"   โดย  คุณมาโนช พุฒตาล  นักดนตรีที่ขึ้นเวทีรำลึก สืบ นาคะเสถียร บ่อยครั้งที่สุด ทั้งงานที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และงานที่จัดในกรุงเทพมหานคร ได้เขียนบทเพลงเรื่องราวของคุณสืบ นาคะเสถียร บทเพลง – ผู้ชายในแสงแดด “ผมจับเหตุการณ์ตอนที่คุณสืบ นาคะเสถียร ไปช่วยอพยพสัตว์ป่าที่เขื่อนเชี่ยวหลาน ”

     “สุดเอื้อมเพียงแค่นี้   ผมทำได้เท่านี้   ไม่อยากเห็นพรุ่งนี้  แบกชีวิตไม่พ้น  น้ำท่วมเทียมยอดป่าฝน”

     “สัตว์ทั้งหลายดิ้นรน  ดิ้นรนสู่เฮือกสุดท้าย   ก่อนเฮือกสุดท้าย ได้สบสายตาสัตว์ล้มสิ้นใจ ทุกตัวทุกตนมีหัวใจ  ผมก็มีหัวใจ…”

“จากภาพที่คุณสืบ นาคะเสถียรช่วยชีวิตสัตว์ป่า คล้ายกับว่าช่วยไม่ได้ สัตว์ต้องตายลง ตัวเขาเองก็ไม่สามารถช่วยชีวิตสัตว์ได้ แล้วที่สังคมกระทำขึ้นมาได้ทำให้ชีวิตสัตว์ป่ามากมายต้องตายลงไป”

วันการศึกษานอกโรงเรียน 8 กันยายน

      การศึกษาเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต นอกจากการเรียนรู้หนังสืออันเป็นกุญแจสำคัญที่ไขเข้าสู่สรรพวิทยาการแล้ว การเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนอย่างอื่น และกระบวนการอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่นานัปการนั้น จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้ดีขึ้นได้   ดังนั้นองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO จึงได้กำหนดเอาวันที่ ๘ กันยายนของทุกปี เป็นวัน International Literacy Day

วันระลึกปีสากลแห่งการรู้หนังสือ 8 กันยายน

 เริ่มต้นแต่ปี พ.ศ. 2509 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเตือนให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ อันเป็นหลักการของยูเนสโก จากที่ประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2489 ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกได้เรียกร้องให้ชาวโลกให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อปวงชน

วันโอโซนสากล 16 กันยายน

โอโซนเป็นก๊าซสีน้ำเงินเข้ม พบได้ทั่วไปในบรรยากาศโลก และเป็นอันตรายต่อปอด หากเราหายใจเข้าไปมากๆ ก๊าซโอโซนที่อยู่ในบรรยากาศระดับสูงเรียกว่า ชั้นสตราโซเฟียร์ จะจับตัวกันเป็นก้อนโอโซนปกคลุมทั่วโลก

ประวัติความเป็นมาวันโอโซน (16 กันยายน)เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" ขึ้นในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล"  มีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออลเป็น ส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ

ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้นสารเคมี ที่ถูกควบคุมคือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม 5 ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3 ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด    

 "โอโซน" มีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชำระล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้ โดยการนำโอโซนผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์ มาทำน้ำดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี         

     จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น “วันโอโซนโลก” เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา

1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ

วันพิพิธภัณฑ์ไทย 19 กันยายน 

     พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเก็บรวบรวมศิลปวัตถุและโบราณวัตถุไว้ให้คนรุ่นหลังหรือผู้ประสงค์จะทราบประวัติความเป็นมาตลอดจนอารยธรรมของบรรพชนหรือชนชาติในอดีตได้ใช้เป็นแหล่งศึกษานอกเหนือจากชมเพื่อความเพลิดเพลิน

     - 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย (ครม. ประกาศในปี พ.ศ. 2538)

- เหตุที่กำหนดให้วันที่ 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปิดมิวเซียมหลวงที่ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งที่ศาลาสหทัยสมาคมให้ประชาชนชมเป็นครั้งแรก

     - ปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ย้ายสิ่งของพิพิธภัณฑ์ไปเก็บรักษายังพระที่นั่งอันเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนครปัจจุบัน และโปรดให้ยกฐานะเป็นกรมพิพิธภัณฑ์สถาน สังกัดกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน)  และกิจการพิพิธภัณฑ์ได้รับการพัฒนาสืบเนื่องมาทุกรัชกาล

     - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงสนพระราชหฤทัยและให้ความสำคัญกับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และการพิพิธภัณฑ์มาก นอกจากจะพระราชทานพระราชดำริให้กรมศิลปากรก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ที่ จ. พระนครศรีอยุธยา  

     - ปัจจุบัน มีผู้เห็นความสำคัญของศิลปโบราณวัตถุกันมากขึ้น  ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นในหลากหลายรูปแบบ ทั้งของที่รวบรวมและชื่อที่ใช้เรียกก็ต่างกันไป  แต่จุดประสงค์เดียวกันคือ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้า และความเพลิดเพลินแก่ประชาชน

วันเยาวชนแห่งชาติ 20 กันยายน 

    ในปัจจุบันสังคมได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเยาวชน ซึ่งเป็นพลังลูกใหม่ ๆ ที่จะมาสร้างและพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ดังนั้น องค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดให้ปีพุทธศักราช 2528 เป็นปีเยาวชนสากล 

     สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2528 กำหนดให้วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ โดยถือว่าเป็นวันที่เป็นสิริมงคล อันเนื่องมาจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงค์จักรีถึงสองพระองค์ คือ

     - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396

     - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468

     นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ยังขึ้นครองราชสมบัติขณะยังทรงพระเยาว์เหมือนกันอีกด้วย

     นอกจากนี้ องค์การสหประชาชาติ ขอให้ประเทศสมาชิกร่วมเฉลิมฉลองปีเยาวชนสากลภายใต้คำขวัญ "Participation Development and Peace" ถอดความเป็นภาษาไทยว่า "ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ" ซึ้งต่อเยาวชนทุกคน สามารถยึดถือและนำไปปฏิบัติ ดังนี้

     ร่วมแรงแข็งขัน (Participation) หมายถึง การยอมรับในศักยภาพของแต่ละบุคคล ที่จะสามารถวินิจฉัยและตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง และตระหนักว่าตนเองมีโอกาส ได้ใช้โอกาสและพึงพอใจที่ได้ใช้โอกาสด้วยตนเองอย่างเกิดคุณค่า โดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้ใด การที่เยาวชนสามารถมีส่วนร่วมและมีบทบาทต่อชาติบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่นั้น เป็นความสำเร็จของสังคมและประเทศชาติ
     ช่วยกันพัฒนา (Development) การพัฒนานั้นมองได้ 2 มิติ มิติหนึ่งคือ การพัฒนาตนเองของแต่ละบุคคล หากบุคคลพัฒนาตนเองได้ดีก็จะเป็นกำลังสำคัญ และอีกมิติหนึ่งคือ การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ และมีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
ขณะเดียวกัน การพัฒนาสังคมและประเทศชาติก็จะเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาของบุคคลด้วยกระบวนการพัฒนา 2 ส่วนนี้ จึงมีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน และในสภาวะปัจจุบัน ความร่วมมือในระดับนานาชาติจะมีผลอย่างสำคัญยิ่งต่อความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ
     ใฝ่หาสันติ (Peace) สันติภาพเป็นหลักการพื้นฐานของชีวิต ความต้องการสันติภาพ เป็นความต้องการของสากลโลก ซึ่งทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้เกิดสันติภาพและดำรงคงไว้ คนหนุ่มสาวจึงต้องร่วมมือกันในเรื่องนี้ ผลักดันให้เกิดมาตรการที่จะสร้างความเชื่อมั่นในวิถีการพัฒนาด้วยสันติ และสร้างสำนึกสันติภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังสั่งสอนเยาวชนให้รู้จักเคารพในศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน มีความอดกลั้น ความเป็นประชาธิปไตย และเสรีภาพพื้นฐาน

วันอันไซเมอร์ 21 กันยายน

     21 กันยายน เป็นวัน "อัลไซเมอร์" ตามที่องค์การอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ Alzheimer’s Disease International ได้ประกาศไว้ เพื่อรณรงค์ให้ทุกคนเห็นความสำคัญและเข้าใจในโรคนี้มากขึ้น

     ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคอัลไซเมอร์โดยตรง การป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมจึงมีความจำเป็นอย่างมาก

     “โรคอัลไซเมอร์” พบมากถึง70-80% ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งหมด เกิดจากเซลล์ในสมองตาย หรือไม่ทำงาน ทำให้สมองส่วนที่เหลือทำงานได้ไม่เต็มที่ และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะเกิดภาวะสมองเสื่อมรุนแรงขึ้น จนในที่สุดผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้

     โดยส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid) ชนิดไม่ละลายน้ำซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ

วันมหิดล 24 กันยายน 

"วันมหิดล" 24 กันยายน 2564 ปีนี้เป็น "วันหยุดพิเศษ" มีความสำคัญอย่างไร

      เดือนกันยายน 2564 มีวันหยุดเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ นั่นคือ "วันมหิดล" ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กันยายน 2564 โดยเป็นวันหยุดที่ ครม. เคาะเพิ่มขึ้นมาใหม่ในปีนี้

•วันรำลึก “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”

วันที่ 24 กันยายน ของทุกปี ถือเป็นวันคล้ายวันสวรรคต ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศให้วัน ที่ 24 กันยายน ของทุกปีเป็นวันมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 เป็นต้นมา

ซึ่งในวันนี้ได้มีเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จากพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุข ของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 12 ปี ได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ และมีการพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ  

 •กิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันมหิดล

ในวันนี้จะมีการถวายสักการะ และวางพวงมาลา กิจกรรมรับบริจาคสมทบทุนศิริราชมูลนิธิ การจัดนิทรรศการ การจัดสัมมนาทางวิชาการ การประกวดหรือการแข่งขันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การประกวดโรงพยาบาลดีเด่น

และรัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมเพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ซึ่งมีหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมา

นอกจากนี้ ปี 2564 ซึ่งถือเป็นวันหยุดพิเศษปีแรก หลายโรงพยาบาลก็ถือโอกาสเปิดรับ Walk-in ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประชาชนอีกด้วย

 •ธงวันมหิดล สัญลักษณ์แห่งการแบ่งปัน

“ธงที่ระลึกวันมหิดล” จัดทำขึ้นเพื่อสมนาคุณแด่ผู้บริจาคเงินช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ของโรงพยาบาลศิริราช เริ่มต้นทำธงตั้งแต่วันมหิดล 24 กันยายน พ.ศ. 2503 สีธงจะเปลี่ยนไปตามวันในสัปดาห์ของวันมหิดลปีนั้นๆ ในพ.ศ. 2564 นี้ วันมหิดล ตรงกับวันศุกร์ จึงใช้ผ้าธงสีฟ้าสวยสดใส

"วันมหิดล" 24 กันยายน 2564

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 23 กันยายน 2564

ที่มา : พิพิธภัณฑ์ศิริราช , มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

 

 


อ่าน : 0

แชร์ :


เขียนความคิดเห็น