อี-บุ๊ค
฿ 299.00
590.00
ประหยัด 49 %
Barcode : 3000000014233
หมวดหนังสือ : สาธารณสุขศาสตร์
ตำราเล่มนี้ได้เรียบเรียงจัดทำขึ้นภายใต้ทุนสนับสนุนการผลิตตำรา ของศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเนื้อหาที่เรียบเรียงจะครอบคลุมด้านหลักการของการประเมินความเสี่ยงในงานอุตสาหกรรม การประเมินความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จึงเหมาะสำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาทั้งระดับบัณฑิตศึกษาและนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยมีเนื้อหาคือ บทที่ 1 การเกิดอุบัติภัยร้ายแรง บทที่ 2 การควบคุมอุบัติภัยร้ายแรงและการประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพ บทที่ 3 การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตราย และบทที่ 4 ถึงบทที่ 9 จะเป็นรายละเอียดวิธีการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงในทางอุตสาหกรรมตามวิธีการต่างๆ 6 วิธีการ พร้อมรวบรวมกรณีตัวอย่างที่มาจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมและจากผลงานศึกษาวิจัยที่เผยแพร่แล้วระดับระดับชาติและนาชาติของผู้เขียน ในแต่ละบทของวิธีการบ่งชี้อันตราย คือ การใช้แบบตรวจ (Checklist) การตั้งคำถามวิเคราะห์ (What-if analysis) การศึกษาอันตรายหรือปัญหาของระบบจากการออกแบบ (HAZOP) การวิเคราะห์หาสาเหตุและผลหรือแผนภูมิต้นไม้ (FTA) เทคนิคการวิเคราะห์รูปแบบความเสียหายและผลกระทบ (FMEA) การประเมินผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาด (ETA) ตามลำดับ และเนื้อหาสำคัญบทที่ 10 ด้านหลักการของแผนฉุกเฉินและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน พร้อมยกตัวอย่างการจัดทำแผนฉุกเฉินจากประสบการณ์การจัดทำและการเป็นที่ปรึกษาหรือวิทยากรให้กับสถาบันต่างๆ ซึ่งการจัดทำตำราครั้งนี้ได้รับกรุณาจาก รองศาสตราจารย์วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล ร่วมเรียบเรียงและอ่านตรวจสอบเล่มนี้ ดังนั้นทั้งเนื้อหา กรณีตัวอย่าง ภาพ หรือเหตุการณ์ประกอบมาจากประสบการณ์ และการสอนทั้งในมหาวิทยาลัยและโรงงานอุตสาหกรรมมากว่า 30 ปี