E-book
฿ 65.00
130.00
Discount 50 %
Barcode : 3000000014578
Book category : หลักการวิจัย
“......เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เมื่อสิ่งนี้มี จึงทำให้เกิดสิ่งใหม่…….” สมรรถนะตั้งต้นของความสามารถในการผลิตผลงานทางวิชาการ เริ่มที่การเข้าถึงความจริงที่แท้จริง ระหว่างปรากฏการณ์ภายนอกกับการรับรู้ และสรุปเป็นความเชื่อในความจริง อันเริ่มต้นจากปัจจัยนำเข้า (Input) ก่อนที่ถูกนำผ่านกระบวนการคิด (Process) เกิดเป็นผลผลิต (Output) นำมาซึ่งการกลั่นกรองด้วยการคิดเชิงเหตุผล (Rational Thinking) เป็นฐานรากของการคิดเชิงปรัชญา จนกระทั่งการวิเคราะห์นำมาสู่การสังเคราะห์ (Analysis to Synthesis) ที่จะนำมาใช้แสวงหาข้อมูล ประเมินค่าหาข้อสรุป ตกผลึกเป็นองค์ความรู้ใหม่ร่วมกัน โดยที่การแสวงหาความรู้ความจริงของมนุษย์ได้มีวิวัฒนาการต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน โดยแต่ละบุคคลมีความเป็นปัจเจก (คิดไม่เหมือนกัน) นักวิชาการจึงมีการรวมกลุ่มกำหนดกรอบและกระบวนการอย่างเป็นระบบที่ชัดเจน มีการดำเนินการที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ทุกขั้นตอน การที่จะฉีกแนวแต่อยู่ภายใต้กรอบเป็นความคิดที่ท้าทาย ถือเป็นการพัฒนาองค์ความรู้เดิมจากสิ่งที่มีอยู่ให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ (New knowledge) หรือเป็นเทคนิคใหม่ เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญมาก เพราะสถานการณ์ปัจจุบันอัตราการแข่งขันสูงมาก การที่จะนอนรอโอกาส และก้าวเดินอย่างช้าๆ อาจจะไม่ทันโลกของความเปลี่ยนแปลง การที่จะฉีกแนว สร้างทางลัดทางวิชาการและได้ผลงานที่ดี มีความก้าวหน้าและมีความทันสมัย การกำหนดปัจจัยนำเข้าที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเสมือนการเตรียมวัตถุดิบที่มีคุณภาพเข้าสู่การผลิตสินค้าที่ดี ได้มาตรฐาน ซึ่งแนวทางวิชาการที่ดีจำเป็นต้องมีปัจจัยนำเข้าที่ดี บุคคลผู้เชื่อมต่อสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดเป็นความรู้ความจริงและเป็นองค์ความรู้ใหม่โดยปราศจากอคติได้ ย่อมหลุดพ้นจากกับดักทางวิชาการ งานทางวิชาการโดยส่วนมากยังเป็นความพยายามทำตามกรอบแนวทางของกลุ่มผู้ตีกรอบให้ยึดถือปฏิบัติ มาสร้างเป็นผลงานทางวิชาการ แต่การจะสร้างและผลิตผลงานทางวิชาการอย่างไรให้รวดเร็วและเข้าถึงองค์ความรู้ที่เจาะลึกแต่มีวิธีการง่ายๆ ต่อยอดสร้างสรรค์อธิบายความรู้ความจริงได้นั้น หนังสือ “เทคนิคการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลงานทางวิชาการ” เล่มนี้ เป็นหนึ่งแนวทางสำคัญในการจุดแสงประกาย กระตุ้นแนวความคิด (Concept) สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์และผลิตผลงานทางวิชาการจากเรื่องดูยากให้เข้าใจด้วยกระบวนการแบบง่ายๆ สำหรับบุคลากรสายวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจในด้านวิชาการ ทั้งมือใหม่และเก่า ใคร่นำไปทดลอง ขยายผล ต่อยอด และพัฒนา เพื่อยกระดับองค์ความรู้จากนามธรรมสู่รูปธรรมเห็นผลเชิงประจักษ์นิยม เป็นยอดมนุษย์ทางวิชาการ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพต่อไป “องค์ความรู้ ความจริง ที่มีอยู่ ประการใด ก็ไร้ค่า หากเราท่านทั้งหลายไม่นำมาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม”