E-book
฿ 260.00
320.00
Discount 18 %
Barcode : 3000000004795
Book category : การบริหารทรัพยากรมนุษย์
ภาวะผู้นำ - ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน (ปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2566) ทฤษฎีภาวะผู้นำ มีการเปลี่ยนแปลงในแนวคิดมาตลอด จากยุคความเชื่อในทฤษฎีภาวะผู้นำเชิง คุณลักษณะในช่วงทศวรรษ 1930-1940 สู่ยุคความเชื่อในทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมในปลายทศวรรษ 1940 เข้าสู่ยุคความเชื่อในทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ในช่วงทศวรรษ 1960 และท้ายสุดได้เข้าสู่ยุค ความเชื่อในทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงบูรณาการ ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา การจัดการ (management) การบริหาร (administration) และภาวะผู้นำ (leadership) มีความ แตกต่างกัน แต่ต่างมีความสำคัญ บุคคลที่เป็นผู้จัดการหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำด้วย องค์กร เองต่างก็ต้องการทั้งการจัดการ การบริหาร และภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง เพราะในขณะที่การบริหารเกี่ยวข้อง กับการกำหนดทิศทางขององค์กร เน้นการใช้สมอง เน้นการตัดสินใจที่คำนึงถึงปัจจัยภายนอก เน้นระบบ และโครงสร้างส่วนบนขององค์กร การจัดการก็เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามนโยบาย เน้นการจัดการ เน้น การตัดสินใจที่คำนึงถึงปัจจัยภายใน เน้นระบบและโครงสร้างส่วนล่างขององค์กร แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารและการจัดการต่างต้องการภาวะผู้นำ ด้วยแนวคิดทุกคนเป็นผู้นำได้ หรือทุกคนจะต้องเป็นผู้นำ อันเป็นแนวคิดการสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับทุกคนในองค์กร ไม่จำกัดเฉพาะผู้จัดการหรือผู้บริหารโดย ตำแหน่ง ปัจจุบัน มีนานาทัศนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำเกิดขึ้นมากมาย ทั้งจากประสบการณ์ส่วนบุคคลหรือหน่วย งาน จากผลการวิจัย และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เป็นนานาทัศนะที่ยังคงแสวงหาคำตอบ ดั้งเดิม คือ ภาวะผู้นำคืออะไร ผู้นำเป็นใคร สำคัญอย่างไร มีลักษณะพิเศษอะไรที่ทำให้แตกต่างจากผู้ตาม มีข้อเสนอเพื่อพัฒนาเป็นผู้นำที่ดีสำหรับโลกยุคปัจจุบันและอนาคตได้อย่างไร เป็นนานาทัศนะที่ผู้เขียนได้ ศึกษาด้วยความอยากรู้และอยากทำความเข้าใจให้ก้าวทันกับแนวคิดใหม่ๆ เหล่านั้น โดยเฉพาะจากแหล่ง ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตที่มีผู้แสดงนานาทัศนะไว้อย่างมากมาย หลากหลายแง่มุม เป็นนานาทัศนะที่ต่อยอด จากองค์ความรู้ภาคทฤษฎีที่ผู้เขียนเคยศึกษาแล้วนำมาเสนอไว้ในหนังสือเล่มนี้ โดยแบ่งเนื้อหาออก เป็นสองตอน คือ 1) ภาคทฤษฎี และ 2) นานาทัศนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำร่วมสมัยปัจจุบัน ซึ่งผู้เขียนถือว่า เป็นการเติมเต็ม เพราะเนื้อหาจากนานาทัศนะนั้นช่วยขยายความทฤษฎีให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เป็นเนื้อหา ที่กระตุ้นจูงใจและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการกระทำ เป็นการกระทำในสิ่งที่รู้ (do what to know) อัน เป็นผลจากการรู้ในสิ่งที่ควรทำ (Know what to do) ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการพัฒนาภาวะผู้นำให้กับ ตนเองหรือให้กับคนอื่น