Episode 10 : จาริกบุญ ออกพรรษา เริ่มต้นทอดกฐิน

 

จาริกบุญ ออกพรรษา เริ่มต้นทอดกฐิน

ตุลาคม 2567

By: รณยุทธ์ จิตรดอน

     วันที่ 1 ตุลาคม ได้ฤกษ์นำถังกฐินที่ปวารณาว่าจะร่วมทอดหรือเป็นกรรมการทอดกฐินวัดต่างๆ ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ตามลำดับ คือ

    1. วัดใหม่สามัคคีธรรม ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย มีกำหนดการทอดกฐินในวันที่ 19 ตุลาคม 2567

    2. วัดหนองแก ตำบลวังไทร อำเภอปากช่อง ทอดวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567

    3. ศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชร ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง ทอดวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567  

     วันที่ 2 ตุลาคม เป็นวันพระ ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ถือปฏิบัติเป็นอาจิณกรรม จัดภัตตาหารเพล(ขนมจีนน้ำยา, ไข่ตุ๋น,บราวน์นี่, ส้มสายน้ำผึ้ง และนมถั่วเหลือง) 3+1 ชุด ถวายพระสงฆ์วัดเสมียนนารี  

    เมื่อกลับบ้านแล้วได้นำแจกันดอกบัวถวายพระมหามุนี รัตนโคดม แจกันดอกกุหลาบสีแดง 9 ดอก ถวายองค์พระโพธิสัตว์กวนอิน ลานหน้าบ้าน ถวายพวงมาลัยพระมหาปูชนียาจารย์ 10 องค์ พระสยามเทวาธิราช สมเด็จโต และพระป่าเลไลยก์ ที่   ตู้บูชา พร้อมทั้งถวายแจกันดอกกุหลาบสีแดง 9 ดอก ที่โต๊ะหมู่บูชาองค์ท้าวเวสสุวรรณ เทพเจ้าแห่งขุมทรัพย์ และโชคลาภ

     และแวะเข้าไปรับซองกฐินทอด ณ ศูนย์การศึกษาพระปริยัติธรรมวัดไตรมิตรวิทยาราม (เขาแม่ชี) ตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะทอดในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 พร้อมทั้งได้กราบพระพุทธสัมฤทธิ์มหาจักรพรรดิ์และพระพุทธเมตตาที่หน้าอุโบสถวัดไตรมิตรวิทยาราม ปีนี้ทำบุญทุก 1,000 บาท จะได้รับ

- เหรียญพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (หลวงพ่อทองคำ)

- เหรียญหลวงปู่ทวด ในโอกาสมุทิตาอายุวัฒนมงคลสมเด็จพระพุฒาจารย์ 78 ปี 18 พฤศจิกายน 2563

     วันที่ 3 ตุลาคม เดินทางเข้าพื้นที่ในตำบลบ้านใหม่ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเตรียมกฐินในพื้นที่ คือ

     1.เจ้าภาพตัวแทนถวายกฐิน 30,000 วัด วัดถ้ำกูปนฬวัน ทอดวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 เคยได้พระท่ากระดาน ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดซึ่งพระครูกาญจนปัญญาวิบูล เจ้าอาวาสเป็นผู้สร้าง

     2.เจ้าภาพตัวแทนถวายกฐิน 30,000 วัด วัดสระเศรษฐีปรีชาราษฎร์ ทอดวันที่ 3 พฤศจิกายน 2567

     หลังจากเข้าพื้นที่อำเภอท่าม่วงแล้ว เมื่อกลับมาแล้วได้แวะตลาดนัดธนบุรี เพราะเป็นตลาดที่หาอาหารทุกชนิดได้ในราคาพอสมควร ทุกครั้งที่แวะก็จะได้ทานทุเรียน(เม็ดตายมากๆ) และมะพร้าวถอดเสื้อก่อนกลับ  

    เนื่องจากเก็บมะละกอวันแรกเมื่อ 3 ตุลาคมยังไม่หมด วันที่ 5 ตุลาคม จึงต้องมาเก็บต่ออีกวัน จึงพอมีเวลาที่จะแวะนำพระสมเด็จไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวืหาร 500 องค์ มอบให้พระครูกาญจนปัญญาวิบูล เจ้าอาวาสวัดถ้ำกูปนฬวัน เพื่อไว้มอบให้สาธุชนที่ร่วมบุญกฐินประจำปี 67  

     เสร็จแล้วได้นำถังกฐินและซองกฐินของวัดถ้ำกูป ซึ่งจะทอดในวันที่ 2 พฤศจิกายน และวัดสระเศรษฐีปรีชาราษฎร์ ทอดวันที่ 3 พฤศจิกายน ให้ร้านสัมพันธ์ ร้านเจี๊ยะเตี๊ยว ในตลาดท่าม่วง และฝากให้คุณวชิรวิทย์ ชิ้นปิ่นเกลียว CSR บมจ.SCGP

     วันที่ 6 ตุลาคม เริ่มต้นแต่เช้าเวลา 9:30 น. ได้เข้า zoom online พิธีงานบุญวันอาทิตย์ต้นเดือน วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เริ่มต้นจากปฏิบัติธรรม, บูชาข้าวพระ และกล่าวคำถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน เสร็จพิธีภาคเช้าเวลา 11:0

น.

     วันที่ 7 ตุลาคม ยังคงต้องเข้าพื้นที่ อำเภอท่าม่วง กาญจนบุรี นอกจากมะละกอที่ปลูกไว้กำลังออกลูกคนซื้อมาเก็บไปเมื่อ 5 ตุลาคมที่ผ่านมายังต้องเข้ามาเก็บเพิ่มวันนี้อีกวัน กำลังหาคนเข้ามาดูแลมะละกอต่ออีก เพราะเพิ่งเก็บลูกได้ 4 เดือนที่ผ่านมา ยังเก็บได้อีกอย่างน้อย 1 ปีครึ่ง เสร็จธุระแล้วจะได้รับร่มและ พุ่มสำหรับบุญกฐินของวัดถ้ำกูปนฬวัน และวัดสระเศรษฐีที่จะทอด 2 และ 3 พฤศจิกายน ตามลำดับ

     วันที่ 8 ตุลาคม แต่เช้า นอ.รศ.นพ.เพิ่มยศ โกศลพันธุ์ ประธานนิสิตเก่าจุฬารุ่น CU 50 ขับรถด้วยตัวท่านเองไปชม “สำนักสงฆ์บ้านหนองกระทุ่ม” หรือ “ศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชร” ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งปีนี้ผมเป็นประธานทอดกฐินประจำปี 2567 ด้วย โดยจะทอดในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 ผมจะนำคุณหมอไปเยี่ยมชม“รมณียสถานปฏิบัติธรรม” เผื่อท่านจะได้นำกฐินรุ่นCU12 มาทอดที่นี่ในปีหน้า (ทราบว่าปีนี้ CU12 ก็ทอดวัดวะภูแก้ว อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เช่นเดียวกัน)

     ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่ 10:30 น วันที่ 8 ตุลาคม เมื่อถึงศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชร ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ก็หลังเที่ยงวันแล้ว ได้ถวายพวงมาลัยดอกมะลิพระอาจารย์วิทยา ชุมภูวัง ประธานศูนย์ฯ พระอาจารย์ได้นำชมอ่างเก็บน้ำริมเขาขนานจิตร มีประตูน้ำที่ระบายน้ำลงจากเขาสู่ลำตะคองทางด้านตะวันออกของศูนย์ฯ สถานที่นี้ได้สรรค์สร้างเป็น“รมณียสถานปฏิบัติธรรม”ต่อไป

     วันที่ 10 ตุลาคม เป็นวันพระขึ้น 8 ค่ำเดือน 11 ได้ถือปฏิบัติเป็นนิจนำภัตตาหาร (ข้าวผัดธัญพืช, ยากิโซบะ, แอปเปิ้ลและองุ่น และนมถั่วเหลือง) 3+1 ชุดถวายเพลพระสงฆ์วัดเสมียนนารี เมื่อกลับบ้านแล้วนำพวงมาลัยดาวเหลืองถวายพระมหามุนีรัตนโตดม และองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม ลานบ้าน  

     ตอนบ่ายได้ไปร่วมพิธีทอดผ้าป่าสมทบกฐินวัดพระธรรมกายและสมทบกฐิน 30,000 วัดทั่วไทย ครั้งที่ 3 โดยปีนี้ได้เป็นประธาน/เจ้าภาพกล่าวคำถวายกฐิน 4 วัด(อีก 1 วัด“ศูนย์การศึกษาพระปริยัติธรรมวัดไตรมิตรวิทยาราม(เขาแม่ชี)” คือ
    - วัดหนองแก ตำบลวังไทร อำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา ทอด 2 พฤศจิกายน

    - วัดถ้ำกูปนฬวัน ตำบลบ้านใหม่ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรีทอด 2 พฤศจิกายน

    - วัดสระเศรษฐีปรีชาราษฎร์ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ทอด 3 พฤศจิกายน

    - ศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชร ต.จันทึก อ.ปากช่อง นครราชสีมา ทอด 10 พฤศจิกายน  

     เช้าวันที่ 14 ตุลาคม ถวายผลไม้ (กล้วย, แอปเปิ้ล, ส้ม, สัปปะรด, มะพร้าว และขนุน) องค์พระโพธิสัตว์กวนอิม ลานหน้าบ้าน ประทานพรความสุขความสำเร็จ    

     จากที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ผมไม่เพียงกระตุ้นเตือนที่จะต้องจับตามองการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจซึ่งอาจจะวิกฤติเหมือนที่ผ่านมาก็เป็นได้ จึงขอให้รัฐสภาตั้ง“กรรมมาธิการวิสามัญร่วม” เพื่อพิจารณากฎหมายจัดตั้ง ”ศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค“ เพราะวิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 ก็ขึ้นไล่หลังที่เราเปิดการเงินระหว่างประเทศ (BIBF-Bangkok International Banking Facility)ก่อนหน้านั้น

     วันที่ 17 ตุลาคม เป็นวันพระตรงกับวันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 นำภัตตาหารเพล (ต้มยำลูกชิ้นปลา, หมูสะเต๊ะ, ผลไม้แอปเปิ้ล แคนตาลูป แก้วมังกร และแตงโม และนมถั่วเหลือง) 3+1 ชุด ถวายพระสงฆ์วัดเสมียนนารี แล้วจึงนำพวงมาลัยดอกดาวเรือง พวงมาลัยมะลิถวายพระมหามุนีรัตนโคดม องค์พระโพธิสัตว์กวนอิม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ลานหน้าบ้าน และตู้ในบ้าน ถวายพานดอกกุหลาบสีแดง 9 ดอก 2 แจกัน องค์ท้าวเวสสุวรรณ เทพเจ้าแห่งขุมทรัพย์และโชคลาภ ให้พรให้ได้รับความสุขความสำเร็จ  

     วันออกพรรษา คือ วันสิ้นสุดของการอยู่จำพรรษาเป็นระยะเวลา 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ ที่ได้จำพรรษาที่วัด โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น ตามพระพุทธบัญญัติ และยังเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ หลังจากที่เสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกว่า “วันเทโวโรหณะ” ซึ่งแปลว่า “การเสด็จลงจากเทวโลก” ของพระพุทธองค์  ซึ่งมีพุทธศาสนิกชนต่างมาเฝ้ารับเสด็จและรอตักบาตรเป็นจำนวนมาก และเกิดประเพณีตักบาตรเทโว สืบต่อมาจนถึงกระทั่งปัจจุบัน

     อีกประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวันเข้าพรรษา คือ การทอดกฐิน เมื่อออกพรรษาแล้ว จึงเข้าเทศกาลทอดกฐิน เป็นเวลา 1 เดือน สิ้นสุดวันลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12  

     ผู้เขียนได้เดินทางไปร่วมกฐินวัดแรกที่วัดใหม่สามัคคีธรรม ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (วัดนี้เป็นวัดหนึ่งในโครงการทอดกฐิน 30,000 วัด ทั่วไทยด้วย) ซึงได้ทอดกฐินประจำปี 2567 ตั้งแต่เริ่มเทศกาล    

     ออกเดินทางจากตัวเมืองโคราชแต่เช้าวันที่ 18 ตุลาคม ตรงไปตำบลในเมือง อำเภอพิมาย เพื่อถวายองค์กฐินและบริวารกฐินแก่พระอธิการสมชาย เจ้าอาวาสวัดใหม่สามัคคีธรรม ซึ่งเป็น 1 ใน 376 วัดของจังหวัดนครราชสีมาที่ทอดถวายกฐิน 30,000 วัดทั่วไทย ประจำปี 2567  

     จังหวัดนครราชสีมามีวัดที่ทอดถวายกฐิน 30,000 วัดทั่วไทยมากที่สุดของประเทศ รู้สึกปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่งที่ได้ถวายกฐินในวันแรกเทศกาลกฐินประจำปี 2567  

     วันที่ 25 ตุลาคม เป็นวันพระแรม 8 ค่ำเดือน 11 ถือปฏิบัติเป็นอาจิณกรรม เตรียมภัตตาหารเพล (คั่วกลิ้ง, ผัดหน่อไม้, กะเพราหมู, ซาโมซ่า, ส้มสายน้ำผึ้ง และนมถั่วเหลือง) 3+1 ชุดถวายพระสงฆ์วัดเสมียนนารี เมื่อกลับเข้าบ้านแล้วได้นำพวงมาลัยดอกดาวเรืองถวายพระมหามุนี รัตนโคดม และองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม ถวายพวงมาลัยมะลิพระปูชนียาจารย์ 10 รูป, พระสยามเทวาธิราช , สมเด็จโต และพระป่าเลไลยก์ ตู้บูชาในบ้าน และถวายแจกันดอกกุหลาบสีแดง 9 ดอก 2 แจกัน องค์ท้าวเวสสุวรรณ เทพเจ้าแห่งขุมทรัพย์ และโชคลาภบนโต๊ะหมู่  

     พื้นที่กาญจนบุรีเดินทางโดยรถยนต์ไม่ไกลมากประมาณ 100 กิโลเมตรเศษ จากกรุงเทพฯ และหากมอเตอร์เวย์ M 81 เสร็จแล้วสิ้นปีนี้ จะยิ่งทำให้ใช้เวลาเดินทางไปถึงอำเภอท่าม่วง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงต่อไปยังอำเภอต่างๆ ทางด้านทิศเหนือของจังหวัด หรือผ่านไปทางด้านทิศตะวันตกไปยังอำเภอเลาขวัญและอำเภอห้วยกระเจาเข้าสู่อำเภออู่ทองของสุพรรณบุรีได้    ยิ่งไปกว่านั้นอำเภอท่าม่วงยังเป็นที่ตั้งเขื่อนแม่กลองที่เป็นแหล่งน้ำดิบป้อนให้ระบบประปาของกรุงเทพฯ อีกด้วย ประกอบกับมะละกอที่ปลูกไว้ที่ “สวนทิพย์” เริ่มให้ผลเก็บส่งตลาดได้แม้ลูกส่วนใหญ่จะแหลมมากกว่าสวย ปีนี้จึงปวารณาที่จะเป็นเจ้าภาพกล่าวคำถวายกฐิน 30,000 วัดทั่วไทย ทั้ง 2 วัดในพื้นที่ คือ วัดถ้ำกูปนฬวัน ซึ่งจะทอดในวันที่ 2 พฤศจิกายน และวัดสระเศรษฐีปรีชาราษฎร์ ทอดวันที่ 3 พฤศจิกายน

     วันที่ 28 ตุลาคม เดินทางเข้าพื้นที่ อำเภอท่าม่วง กาญจนบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้าการจัดเตรียมทอดกฐิน 30,000 วัดทั่วไทย วัดถ้ำกูปนฬวันและวัดสระเศรษฐี ซึ่งเป็น 2 วัดที่ได้เป็นเจ้าภาพกล่าวคำถวายกฐิน จากวัดทั้งหมด 310 วัดในเขตจังหวัดกาญจนบุรีที่จะทอดกฐิน 30,000 วัด  

     จังหวัดนครราชสีมานอกจากมีวัดมากที่สุดในประเทศกว่า 2,100 วัดแล้ว ยังมีวัดที่ทอดกฐินประจำปี 2567 มากที่สุดถึงกว่า 376 วัดอีกด้วย  

     วันที่ 30 ตุลาคมนี้ เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เดินทางไปร่วมทอดกฐินที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ ณ วัดหนองแก ตำบลวังไทร อำเภอปากช่อง โดยวัดแรกที่เดินทางไปร่วมทอดกฐิน คือ วัดใหม่สามัคคีธรรม ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย ซึ่งทอดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา

     วัดหนองแก ตำบลวังไทร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นอีกวัดหนึ่งในกว่า 376 วัด ในจังหวัด ที่ทอดกฐินสามัคคี 30,000 วัดทั่วไทย โดยพิธีทอดกฐินจะมีขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายน  

     ด้วยรับเป็นรองประธานอุปถัมภ์  แต่ติดงานทอดกฐินที่จังหวัดกาญจนบุรีอีก 2 วัด ซึ่งจัดในวันเดียวกันคือ วันที่ 2 และ 3 พฤศจิกายน จึงได้นำปัจจัยบริวารกฐินเข้าไปถวายพระปลัดธนวัธน์ อธิปญโญ เจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลวังไทร ตั้งแต่วันที่ 30ตุลาคม   

ลุงกับป้าพาเที่ยว by รณยุทธ์ จิตดอน
 


View : 0

Share :


Write comment