Episode 4 : จารึกบุญและท่องเที่ยวหัวหินและชะอำ

จาริกบุญและท่องเที่ยวหัวหินและชะอำ

ศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลนสิรินาถราชินี หัวหิน 

และ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ชะอำ

 

By : รณยุทธ์ จิตรดอน

(ลุงป้าพาเที่ยว Chulabook Blog)

      ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปีที่ผ่านมาได้มีหนังสือและบทความเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงศาสนาศิลปวัฒนธรรมออกมาร่วม 50 ฉบับ/บทความ สร้างความมั่นใจว่าเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวใช้ค้นหาได้ตลอดมา  

     ด้วยความเปลี่ยนแปลงในปัญหาของโลก จึงได้ปรับแนวเขียนให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม(ปัญหาโลกร้อน)และพลังงาน ตั้งแต่ฉบับเดือน มกราคม 2566 แต่ยังคงความเข้มข้นด้านพระศาสนาเช่นเดิม ท่านผู้อ่านสามารถติดตามบทความทั้งหมดของผู้เขียนได้จาก: รณยุทธ์ จิตรดอน (ลุงกับป้าพาเที่ยว Chulabook Blog) 

https://www.chulabook.com/th/blog/127

      เริ่มต้นเดือนใหม่ ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2566 ก็ได้เข้าร่วมผ่าน Zoom พิธีบูชาข้าวพระ โดยเริ่มจากการปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ ถวายพระรูปหล่อพระบรมพุทธเจ้า และถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน  

     ต่อมาในวันที่ 4 เมษายน 2566 ได้ร่วมทำบุญพิธีบรรพชาสามเณรเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพถวายอาหารและน้ำดื่ม/น้ำปานะ วัดวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ

     วันที่ 5 เมษายน 2566 เป็นวันพระขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ได้เข้าไปถวายภัตตาหารเพล(ทอดมันกุ้ง, พิต้า, มะยงชิด และนมถั่วเหลือง) 3+1 ชุด ถวายพระสงฆ์ ณ วัดเสมียนนารี เช่นทุกวันพระ  

     ในวันนี้ ท่านพระครูสุตกิตติวรวัฒน์เมตตาส่งพระหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลีให้ 2 องค์และที่พิเศษกว่าทุกวันพระคือวันนี้ขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ได้ทำพิธีจุดธูป 9 ดอก ณ พระมหามุนี รัตนโคดม พร้อมถวายกุหลาบแดง 9 ดอกต่อองค์พระและ 2 ชุดหน้าองค์ท้าวเวสสุวรรณ เริ่มต้นด้วยสวดบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล สวดชินบัญชร ตั้งนโม 3 จบ สวดบูชาท้าวเวสสุวรรณ 9 จบ ขอองค์ท้าวเวสสุวรรณเทพแห่งขุมทรัพย์และโชคลาภ ประทานพรด้วยเทอญ  

     สืบเนื่องมาจากเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้แวะเยี่ยมศูนย์การศึกษาสวนป่าวังจันทร์ จังหวัดระยอง และศูนย์การศึกษาสวนป่าในกรุง กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโครงการปลูกป่าตามนโยบายลดมลภาวะและรักษาสิ่งแวดล้อมของ ปตท. ทำให้นึกถึงโครงการคล้ายคลึงกันที่เป็นศูนย์การเรียนรู้พลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมที่เป็นของเอกชน ตั้งในเขตอำเภอท่าม่วง กาญจนบุรี ชื่อโครงการวังดุมเมาท์เท่นแคมป์ ซึ่งมี คุณสมชัย บุญเสริมวิชาเป็นเจ้าของ

     ในวันที่ 8 เมษายน จึงได้เดินทางไปที่วังดุมเมาท์เท่นแคมป์นี้ เมื่อถึงที่ตั้งแล้วได้นำอนุโมทนาบัตรที่ร่วมทำบุญเมื่อครั้งปิดทองลูกนิมิต วัดหนองแก อ.ปากช่องมอบให้พร้อมกับมอบพระสังกัจจายน์หน้าตัก 9 นิ้วให้ไว้บูชาอีกด้วย    

     เนื่องจากที่ตั้งติดกับปลูกป่าสวนผสมที่กำลังลงแปลงผักชีไว้ 25 ไร่ เพราะได้ต่อสปริงเกอร์ไว้ได้เท่านั้นก่อน จึงได้มอบหมายให้

     1. จัดทำท่อน้ำรดไม้ยืนต้นที่จะปลูกหน้าที่อีก 120 เมตร

     2. ขยายบ่อน้ำเพิ่มเติมเพื่อให้มีน้ำรดได้เต็มทั้งพื้นที่ 50ไร่ รวมทั้งเตรียมลงมะละกอและกล้วยเพื่อเป็น

         ร่มเงาให้ไม้ผลที่จะลงหน้าฝนที่จะถึงนี้

     3. เตรียมเปิดเส้นทางเชื่อมวังดุมเมาท์เท่นแคมป์กับสวนผสม

     โดยในช่วงนี้มีสามเณรที่บวชในระหว่างปิดภาคฤดูร้อน มาธุดงค์ที่วังดุมฯ แห่งนี้ด้วย โดยมีพระปลัดอดุลย์ เจ้าอาวาสและคณะสงฆ์ 5 รูป และสามเณร 49 รูปรวม 54 รูป ภาคเย็นหลังจากทำวัตรเย็นแล้ว ก็เป็นการเรียนกระทั่ง 21:00 น จึงจะปิดการสอน

     พื้นที่ชุมชนบ้านสระเศรษฐี กาญจนบุรี เดิมผืนป่าแห่งนี้มีสภาพแห้งแล้งและถูกทำลาย SCGP ได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปลูกป่าไม้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 และอนุรักษ์แหล่งน้ำด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ใจกลางพื้นที่ชุมชน ทำให้ป่าชุมชนเริ่มฟื้นฟูและอุดมสมบูรณ์ขึ้น ทำให้คนในชุมชนมีน้ำใช้สามารถสร้างรายได้จากการทำเกษตรกรรม มีอาหารที่ได้จากป่า ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น อันเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

     ในปี 2565 ภายใต้โครงการ”SCGP ปลูก ลด ร้อน” SCGP ได้ร่วมกับผู้นำชุมชน หน่วยงานราชการในพื้นที่ และชุมชนจิตอาสากว่า 150 คน พร้อมด้วย 3 โปรกอล์ฟระดับโลก โปรเม โปรโม และโปรเมียว ปลูกต้นไม้ 1,000 ต้น โดยกล้าไม้ที่ปลูกเป็นกล้าไม้เบญจพรรณ รวมถึงกล้าไม้สักทอง มะค่าโมง กระถินเทพา แดง มะฮอกกานี ตะเคียนทอง ยางนา ประดู่ป่า พยุง สน แคนา ขนุนป่า มั่งมี จามจุรี และสะเดาป่า เพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับและเก็บกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลก พร้อมส่งต่อโลกที่ยั่งยืนให้ลูกหลานต่อไป

https://www.dailynews.co.th/news/1814826/

      หลังจากที่เดินทางออกจากวังดุมเมาท์เท่นแคมป์แล้ว ได้แวะเข้าไปทำบุญที่วัดถ้ำกูป ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยได้เข้าไปนมัสการพระครูกาญจนปัญญาวิบูล เจ้าอาวาส และถวายปัจจัยร่วมสร้างเจดีย์ของวัดด้วย

     วันพระที่ 2 ของเดือน เป็นวันแรม 8 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันสงกรานต์ 13 เมษายน พอดี ได้ถวายสังฆทาน(ข้าวสาร ปลากระป๋อง มาม่าต้มยำกุ้ง พัฟเค้กไส้ครีมกลิ่นส้ม และนมถั่วเหลือง) 9 ชุดแก่พระสงฆ์ที่วัดเสมียนนารี เสร็จแล้วถวายแจกันดอกไม้หน้าองค์พระมหามุนี รัตนโคดม และองค์พระโพธิสัตว์ บริเวณหน้าบ้าน และถวายบายศรีดอกดาวเรืององค์ท้าวเวสสุวรรณ เทพแห่งขุมทรัพย์ และโชคลาภ ที่โต๊ะหมู่ในบ้าน  

     ยังได้ให้ทานจนท.วัดที่คอยอำนวยความสะดวกให้สาธุชนมาทำบุญ และมอเตอร์ไซด์รับจ้างที่ปากซอยบ้าน (วันนี้มาปฏิบัติงานรับไป 2 คนก่อน)  

     ตั้งแต่เช้าวันปีใหม่ 14 เมษายน จัดผลไม้ 6 ชนิดมี มะพร้าว แอปเปิล ส้ม กล้วย สัปปะรด และขนุน ถวายองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมที่บ้าน ที่ปกปักอภิบาลรักษาให้มีความบริบูรณ์และความสุขในปีใหม่และตลอดไป

     วันที่ 18 เมษายน ได้มอบมะยงชิดให้นักกายภาพฉัตรฤกษ์ฯ ศูนย์การฟื้นฟูสุขภาพ โรงพยาบาลวิภาวดี ที่เอาใจใส่ดูแลมือขวาให้ตลอดเวลากว่า 5 เดือนที่ผ่านมา  

     ถึงวันพระอีกครั้งในวันที่ 19 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นวันพระใหญ่ตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือน 5 ได้ปฏิบัติเช่นทุกวันพระได้ถวายภัตตาหาร(ข้าวเหนียวดำ ไก่ย่างวิเชียรบุรี ส้มตำ ส้มเขียวหวาน และนมถั่วเหลือง) 3+1 ชุด เป็นสังฆทานแก่พระสงฆ์ ณ วัดเสมียนนารี และได้มอบปัจจัยเป็นรางวัลให้มอเตอร์ไซด์รับจ้าง  

     เมื่อถึงบ้านแล้วจึงได้ถวายแจกันดอกกุหลาบสีแดง 9 ดอก 2 แจกัน แก่องค์ท้าวเวสสุวรรณ เทพแห่งทรัพย์ และ โชคลาภ    

     วันที่ 22 เมษายนเป็นวันคุ้มครองโลก มีพิธีฉลองเจดีย์ ณ วัดพระธรรมกาย ปทุมธานี เริ่มต้นตั้งแต่เช้ามีพิธีตักบาตรฉลองสามเณร 5,000 รูป และถวายรูปหล่อพระบรมพุทธเจ้า โดยได้ติดตามทาง zoom on line เพราะได้ไปติดตามความคืบหน้าปลูกป่าสวนผสมที่ อำเภอท่าม่วง กาญจนบุรี เพราะได้วางระบบน้ำเต็มทั้งพื้นที่ และลงไม้ขึ้นฉ่าย ผักชี และพริก (กล้าพริกจะนำลงต่อไป) ถึงจะเริ่มปลูกไม้ยืนต้นในลำดับต่อไป

     ในขณะเดียวกัน ได้หาทางพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงบ้านวังดุม ไร่แสงตะวัน วังดุมเมาท์เทนแคมป์ เลียบแนวป่าชุมชนไปออกที่กำลังพัฒนาอยู่  

     โครงการนี้เป็นการต่อยอดการปลูกป่าในพื้นที่เป็นป่าเสื่อมโทรมเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน และคนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่และสามารถเลี้ยงชีวิตได้ โดยในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศควรได้รับการพัฒนาจากจากพื้นฐานดังกล่าวจึงจะประสบความสำเร็จ  จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะร่วมมือร่วมใจทำให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายครับ

     มีที่ดินอีกแปลงตั้งอยู่บนแม่น้ำมูล อำเภอพิมาย นครราชสีมา มีนายเทพ-  นางแดง เจ้าของลานข้าวที่พิมายเป็นผู้ดูแลอยู่ เนื่องจากที่ดินมีเนื้อที่งอกเข้าไปในแม่น้ำจึงจะมาขอออกโฉนดที่ดินงอก  เพื่อป้องกันปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะในอนาคต  

     การออกโฉนดที่งอกนี้ได้มีการกฎหมายควบคุม (โดยเฉพาะควบคุมการบุกรุกทางน้ำซึ่งเป็นที่ดินสาธารณะ) การใช้ประโยชน์ที่ดินริมตลิ่งมาระยะหนึ่งแล้ว เนืองจากโครงการชลประทานพิมายเป็นโครงการชลประทานระยะแรกๆของประเทศระยะเดียวกับโครงการเพชรบุรี มีปัญหาน้ำท่วมระยะเวลาที่ผ่านมาทำให้ผลิตผลการเกษตรเสียหายแม้รัฐจะให้เงินชดเชยก็ไม่เพียงพอกับความเสียหาย  

     การขอออกโฉนดที่ดินงอกนี้ ผมได้ทำเป็นตัวอย่างให้เจ้าของที่ดินริมตลิ่งเช่นผมได้ขอใช้ประโยชน์เพื่อทำเขื่อนกันน้ำท่วม แม้จะต้องใช้เวลาขออนุญาตตามระเบียบของรัฐ

https://www.onlb.go.th/about/featured-articles/5121-a5121  

     จากการที่ ปตท.ได้ประสบความสำเร็จในการปลูกป่าทั่วประเทศแล้วถึง 1 ล้านไร่ จึงได้จัดตั้ง “สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศปตท.” เพื่อดำเนินการปลูกป่าใน 3 พื้นที่ คือ ศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ประจวบคีรีขันธ์ ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง กรุงเทพฯ และศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ ระยอง ซึ่งผู้เขียนได้เดินทางไปดูการปลูกป่าทั้งป่าวังจันทร์ และป่าในกรุง แล้วในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา วันที่ 26 เมษายน ได้เดินทางมาชมความสำเร็จในการปลูกป่าในพื้นที่ ตำบลปากน้ำปราณ โดยสามารถพลิกฟื้นผืนนากุ้งร้างให้เป็นป่าชายเลนได้สำเร็จในปี  พ.ศ.2540 ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 และกรมสมเด็จพระเทพฯได้เสด็จในพิธีน้อมเกล้าฯถวายโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติจำนวน 1 ล้านไร่ในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2545

     ทั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานนามศูนย์แห่งนี้ว่า ”สิรินาถราชินี”เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2547 เป็น”ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี” โดยเปิดให้บริการในปี พ.ศ.2550 มาจนถึงปัจจุบัน

ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน สิรินาถราชินี

     คืนนี้ได้เข้าพักที่ เดอะบลูสกาย รีสอร์ต หัวหิน (ที่ตั้งอยู่เขาเต่า) เป็นรีสอร์ตเล็กๆ ตั้งอยู่ติดทะเล       จากระเบียงมองออกเห็นทะเลเต็มจอ แถมหมูกระทะเป็นอาหารเย็นอีกด้วย

     หลังจากที่เดินทางกลับจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก็ต้องเดินทางไปดูความก้าวหน้าสวนป่าโลกทิพย์ ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ก่อนเดินทางได้ร่วมทำบุญสร้างพระไตรปิฎกฉบับธรรมชัย

     พื้นที่อำเภอท่าม่วงนอกจากพื้นที่ป่าชุมชนที่ดินตั้งอยู่แล้ว แวะซื้อวุ้นเส้นผัดไทย (จานละ 50 บาท สั่งกุ้งเพิ่มสี่ตัว @ 80 บาท)  

     เนื่องจากน้ำไม่เพียงพอสำหรับพื้นที่เพาะปลูกจึงได้เจาะบ่อบาดาลเพิ่มอีกบ่อ ลูกไร่ได้ลองปลูกทุเรียนหมอนทองที่นำไปให้ลองปลูกดูก่อน และมอบเมล็ดทานตะวันไว้ลงแซมพื้นที่ด้านหน้า และดอกคอสมอส หว่านลงด้านติดถนนทั้งหมด เมื่อปลูกผักแล้วก็จะมีไม้ดอกแซมให้ดูสดขื่น (ปอเทือง จะนำลงพื้นที่ยังไม่ได้ไถเพื่อปรับปรุงดินโดยต้องรอให้ฝนตกลงมาก่อนเท่านั้น)  

     วันที่ 30 เมษายน 2566 ยังได้ร่วมทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ (ปล่อยปลาชนิดต่างๆ จำนวน 60 ถุง) ลงสู่แหล่งนำธรรมชาติ เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาชีวิต  โดยพระครูสุตกิตติวรวัฒน์ รองเจ้าคณะอำเภอเทพสถิต  เจ้าอาวาสวัดเขาอุดมพร อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ท่านจัดเป็นประจำทุกเดือน ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบุญได้ครับ

 

 


View : 0

Share :


Write comment