ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันออก :อิทธิพล คติความเชื่อ และความหมายสถาปัตยกรรม | ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันออก :อิทธิพล คติความเชื่อ และความหมายสถาปัตยกรรม
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันออก :อิทธิพล คติความเชื่อ และความหมายสถาปัตยกรรม

ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันออก :อิทธิพล คติความเชื่อ และความหมายสถาปัตยกรรม

Author : วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร

Softcover

฿ 810.00

900.00

Discount 10 %

TAGS :

Book info

Barcode : 9786169423218

ISBN : 9786169423218

Year of print : 2 / 2566

Size ( w x h ) : 0 x 0 mm.

Number of pages : 578 Pages

Book category : สถาปัตยกรรม

Product details : ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันออก :อิทธิพล คติความเชื่อ และความหมายสถาปัตยกรรม

ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันออก            

เมื่อมนุษย์ไม่ใช่ผู้ที่อยู่เหนือธรรมชาติ จึงเกิดการค้นหาแนวทางแห่งการหลุดพ้น ที่ต่อมาพัฒนาจนเป็นศาสนา เทพเจ้าถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากความเชื่อตามหลักการธรรมชาติที่มีมาแต่เดิม  ศาสนาจึงเปรียบเสมือนจุดยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจของผู้คน       การสร้างสถาปัตยกรรมในช่วงแรกสร้างขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรม   การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ตัวอาคารจึงออกแบบสะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อ แนวคิดทางศาสนาให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด เมื่อศาสนาได้ถูกเผยแผ่ออกไปยังดินแดนต่าง ๆ จึงเกิดการแลกเปลี่ยนอิทธิพลในด้านต่าง ๆ ระหว่างกันสถาปัตยกรรมตะวันออกเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นการผสมผสานวัฒนธรรมจากภายนอกกับความเชื่อท้องถิ่น ทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมมีเอกลักษณ์เด่นเฉพาะตัว ที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย มีมิติของการปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงคลี่คลายรูปแบบจากแบบแผนดั้งเดิมให้ตรงตามรสนิยมของแต่กลุ่มชนได้อย่างลงตัว

            เนื้อหาภายในหนังสือ “ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันออก อิทธิพล คติความเชื่อ และความหมายสถาปัตยกรรม” จะเริ่มกล่าวถึงต้นแบบของอารยธรรมคืออินเดีย หลักการแนวความคิดทางศาสนาที่เป็นต้นกำเนิดของแนวความคิดในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมรูปแบบต่าง ๆ การแบ่งเรื่องราวตามประเภทของสถาปัตยกรรม เช่น เจดีย์ เทวาลัย วัดถ้ำ วิหาร กำแพงเมือง พระราชวัง สุสาน เป็นต้น นำเสนอกระบวนการวิเคราะห์มูลเหตุ แนวความคิดในการออกแบบที่เป็นปัจจัยที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม รวมถึงการวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ปรากฏจะทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลจากดินแดนต้นกำเนิดที่ประเทศอินเดียมาสู่สถาปัตยกรรมตะวันออกในดินแดนต่าง ๆ ในหลายพื้นที่ เช่น เกาะลังกา เนปาล ทิเบต จีน ญี่ปุ่น รวมถึงดินแดนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

             หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น กลุ่มหนังสือสารคดี ด้านศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และชีวประวัติ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ.2565


Related products

Customers who bought this product Also bought this product

Review score from buyers

0 Full 5 Star
0 People
0
0
0
0
0