อี-บุ๊ค
฿ 280.00
360.00
ประหยัด 22 %
Barcode : 3000000004794
หมวดหนังสือ : การบริหารการศึกษา
แนวคิด ทฤษฎี และประเด็น เพื่อการบริหารการศึกษา (ปรับปรุงครั้งที่ 9 พ.ศ.2566) หนังสือเล่มนี้ ได้ปรับปรุงเนื้อหาจากหนังสือ “การบริหาร: หลักการ ทฤษฎี และประเด็น ทางการศึกษา” ที่พิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 หรือปี 1999 แหล่งอ้างอิงส่วนใหญ่เป็นตำราที่ เขียนในช่วง ปี 1980 – 1998 ซึ่งในช่วงเวลานั้น ถือว่าเป็นแหล่งอ้างอิงที่ทันสมัย มาถึงการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2555 หรือปี 2012 แหล่งอ้างอิงเหล่านั้นดูจะเก่าไป แต่เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทฤษฎี แหล่งอ้างอิงของเนื้อหาในส่วนที่เป็นแนวคิด วิวัฒนาการของทฤษฎี และหน้าที่ทางการบริหาร ส่วนหนึ่งยังคงเป็นแหล่งอ้างอิงเดิม แต่ก็มีหลายส่วนที่ศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งอ้างอิงใหม่ หนังสือ “การบริหาร: หลักการ ทฤษฎี และประเด็นทางการศึกษา” ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ปี 2542 ได้รับวุฒิบัตรและโล่รางวัลชมเชยในการประกวดตำราครบรอบ 36 ปีของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น และได้รับโล่เกียรติยศชมเชยจากสมาคมหลักสูตรการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทยโดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2545 ทั้งสองแหล่งหลังจากนั้นมีการปรับปรุงแก้ไขถึงครั้งที่ 7 หนังสือ “แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา” ที่ปรับปรุงเพื่อพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่ 8 ในปี พ.ศ. 2555 นี้ เนื้อหาได้ยึดถือตามหนังสือที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2542 ในส่วนที่เป็นแนวคิดพื้นฐานทางการบริหาร วิวัฒนาการของทฤษฎีทางการบริหาร และหน้าที่ทางการบริหาร โดยได้ปรับเนื้อหาให้ทันสมัยและเพิ่มเติมในเรื่องภาวะผู้นำมากขึ้น รวมทั้งได้นำเอากรณีศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการวิจัย และผลงานวิจัยทางการบริหารการศึกษา มาแทรกไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาเชิงทฤษฎีเข้ากับแนวคิดทางการวิจัยได้ เนื้อหาในส่วนสุดท้าย คือ ประเด็นทางการบริหาร 7 ประเด็น คือ วัฒนธรรมและบรรยากาศองค์การ องค์การและความเป็นองค์การวิชาชีพ ความเป็นโรงเรียนที่มีประสิทธิผล การพัฒนาครูและผู้บริหารโรงเรียน กรอบแนวคิดการจัดการความรู้ ผู้บริหารกับการบริหารหลักสูตรและการสอน และการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม นั้น เป็นเนื้อหาใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาทัศนะเชิงวิชาการของแต่ละประเด็นที่สามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานหรือในการวิจัยได้ โดยเจตนารมณ์ในการเขียนครั้งนี้ ผู้เขียนเน้นการกระตุ้นให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึง “การเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ทั้งในงานและการวิจัย” จึงคาดหวังว่า หนังสือเล่มที่ปรับปรุงใหม่ครั้งที่ 8 ในปี พ.ศ. 2555 นี้จะเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน ทั้งเพื่อการเรียนรู้ เพื่อการบริหารงาน และเพื่อการวิจัย