ตอนที่ 15 : รณยุทธ์ จิตรดอน : ประวัติ

ประวัติการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานในกลุ่มที่สมัครรับเลือกเป็นวุฒิสมาชิกของ นายรณยุทธ์ จิตรดอน 

ชื่อตัว-ชื่อสกุล นายรณยุทธ์ จิตรดอน

การศึกษา

- เศรษฐศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) เหรียญทอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2516

- เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต (ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2519

- Master of Arts(econometrics and mathematical economics) มหาวิทยาลัยพิทซ์เบอร์ก สหรัฐอเมริกา    

 พ.ศ.2520 โดยทุนรัฐบาลไทย

- Doctor of Philosophy (economic planning) มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา  

 พ.ศ.2528 โดยทุนรัฐบาลไทย

ประสบการณ์ (เฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มงานที่สมัคร)

พ.ศ.2524  กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ ก่อนลาออกจากราชการได้ไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรี

เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบาย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปัจจุบันคือสำนักงาน

พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ)

พ.ศ.2535  เมื่อลาออกจากราชการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ได้ไปเป็น Visiting Researcher ณ วิทยาลัย

กิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ทำให้โลกทัศน์กว้างขวางขึ้น

พ.ศ.2539-2548 ได้เข้าไปเป็นคณะกรรมการคณะต่างๆ ในสภาผู้แทนราษฎรและหน่วยงานของรัฐ คือ

- พ.ศ.2539-2541 ผู้ชำนาญการคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร  

- พ.ศ.2541-2542 ผู้เชี่ยวชาญประจำประธานกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร

- พ.ศ.2546 กรรมการบริหารโครงการก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  

    วิทยาเขตวังน้อย พระนครศรีอยุธยา

  - พ.ศ.2546-2548 กรรมการร่วมภาครัฐและที่ปรึกษาไทยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ  

กระทรวงการคลัง ซึ่งต่อมาได้มีการจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน(องค์การมหาชน) และยังเป็นกรรมการคณะกรรมการศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง อีก 2 คณะ

พ.ศ.2549-2551  นอกจากจะเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาของรัฐแล้ว ยังได้เริ่มงานเขียนที่ได้หล่อหลอม

มาตั้งแต่จบการศึกษา โดยเป็นนักเขียนประจำนิตยสารโลกทิพย์ ประมาณ 1 ปี  

พ.ศ.2551-ปัจจุบัน  มีหนังสือในชื่อของตนเอง พิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์ต่างๆ อาทิ เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป  

ซีเอ็ดยูคชั่น เคล็ดไทย เอเชียบุ๊คส์ ศูนย์หนังสือจุฬา เป็นต้น

1. พ.ศ.2551 อริยะ 21 50 สำนักปฏิบัติธรรมยอดนิยมทั่วประเทศ  

2. พ.ศ.2551 แผนที่ความสุข 100 สถานที่ปฏิบัติธรรมทั่วประเทศ เล่ม 1

3. พ.ศ.2551 แผนที่ความสุข 100 สถานที่ปฏิบัติธรรมทั่วประเทศ เล่ม 2

  โดยหนังสือทั้ง 3 เล่มนี้ อธิการบดี มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และอธิการบดีมหามงกุฎราชวิทยาลัยเขียนคำนิยมให้ เท่ากับว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับสถานปฏิบัติธรรมฉบับแรกของประเทศ

  ด้วยเหตุที่หนังสือทั้ง 3 เล่มแรกนี้เป็นหนังสือ “best sellers” ของร้านหนังสือต่างๆ เมื่อปี พ.ศ.2552 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) จึงแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาพุทธแบบปฏิบัติสมาธิวิปัสสนากรรมฐานได้คัดเลือกสถานปฏิบัติธรรมทั่วประเทศ 35 แห่ง เพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรมขาวต่างประเทศ และ ททท. ได้จัดพิมพ์หนังสือ ”Meditation in Thailand” เป็นภาษาอังกฤษ  

4. พ.ศ.2552 ท่องเที่ยวจาริกบุญ ซึ่งในปีเดียวกันนี้ได้เข้าเป็น สมาชิกสามัญตลอดชีพของ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย (The Writers’ Association of Thailand)  

5. พ.ศ.2552 ท่องเที่ยวพุทธสถานไทยย้อนอดีตสู่ปัจจุบัน Tours of Thai Temples from Past to Present, in Thai and English  

6. พ.ศ.2554 9 เส้นทางพุทธบูชา 99 ศาสนสถานและสถานที่ประวัติศาสตร์ 9 Buddha Bucha Routes 99 Monasteries and Historical Places, in Thai and English

7. พ.ศ.2554 ท่องเที่ยวพุทธสถานแห่งอุษาคเนย์ Tours of Southeast Asian Temples, in Thai and English

   พ.ศ.2553-54 เป็นกรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดพิมพ์หนังสือในลำดับถัดมา คือ

8. พ.ศ.2555 พระอารามหลวง เล่มที่ 1 Royal Monasteries -vol.1 in Thai and English  

9. พ.ศ.2555 พระอารามหลวง เล่มที่ 2 Royal Monasteries-vol.2 in Thai and English  

   จากที่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิชาชีพสาขาต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากงานเขียนได้ จึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาอิสระสาขาการท่องเที่ยว กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ตั้งแต่ พ.ศ.2555 - ธันวาคม 2566

   พ.ศ.2554 เมื่อประเทศเกิดมหาอุทกภัย สาธารณูปโภคทั้ง 6 สาขาได้รับความเสียหาย รัฐบาลจึงให้รับตำแหน่งที่ปรึกษาด้านบูรณะพัฒนาวัดและส่งเสริมการท่องเที่ยว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อพ.ศ.2555 ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการติดตามตรวจสอบการบูรณะศาสนสถานและโบราณสถาน ที่ประสบมหาอุทกภัย 60 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยงานที่ได้ปฏิบัติทำให้สามารถพิมพ์หนังสือติดตามมาอีก คือ

10. พ.ศ.2556 12 เส้นทางท่องเที่ยวธรรมะรักษาใจ

11. พ.ศ.2556 พระอารามหลวง กทม. Royal Monasteries-Bangkok, in Thai and English  

12. พ.ศ.2558 ก้าวสู่ปีที่ 12 กรมการท่องเที่ยว: การฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและมรดกของชาติ Towards 12th Inauguration Anniversary of Department of Tourism: Restoration and Development of Cultural Destination and National Heritage, in Thai and English ซึ่งได้รวบรวมการบูรณะศาสนสถานและ โบราณสถาน ที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยไว้ทั้งหมด

13. พ.ศ.2558 ท่องเที่ยวเมืองโบราณ: การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบและเมืองโบราณ Tour of Thai Ancient Cities: Preservation and Development of Model Tourist Destinations and Old Towns in Thai and English ได้รวบรวมแผนการพัฒนาเมืองท่องเที่ยวหลักเช่น เชียงใหม่ อยุธยา และ ภูเก็ต เป็นต้น  

14. พ.ศ.2559 ท่องเที่ยวอุทยานกับรถบ้าน Tour of Thai National Park by RV, in Thai and English แนะนำ 12 อุทยานแห่งชาติที่มีที่จอดรถบ้านและสิ่งอำนวย ความสะดวก และต่อมาได้รับความนิยมการท่องเที่ยวโดยรถบ้านมากยิ่งขึ้น

   ยิ่งไปกว่านั้นจังหวัดนครราชสีมายังได้แต่งตั้งให้เป็น กรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเขาใหญ่/วังน้ำเขียว พ.ศ.2561/62

   พ.ศ. 2563-64 ศูนย์หนังสือจุฬา ที่ยังมีหนังสืออีก 5 เล่มจำหน่ายอยู่ ได้ขอเขียนบทความ“ลุงกับป้าพาเที่ยว” ชุด ท่องเที่ยวประเทศไทย รวมการท่องเที่ยว 14 เส้นทาง 50 เมืองรอง ซึ่งจะลงใน Chulabook blog เป็นรายเดือน

  พ.ศ.2565-67 ยังคงเป็น blogger ของ Chulabook blog อยู่ทุกๆ เดือนจะเป็นบทความการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม จาริกบุญ และ ปัจจุบันจะให้ความสำคัญเมืองรองที่นักท่องเที่ยวค้นหาข้อมูลระดับต้นๆ และแหล่งท่องเที่ยวunseen ด้วยประสบการณ์ความเป็นนักเขียนที่ยาวนานกว่า 15 ปี จึงครอบคลุมเนื้อหาต่างๆหลายสาขา ผู้ที่ใคร่รู้จึงติดตามบทความทาง Line Facebook และ instagram อยู่เสมอ หากได้สามารถใช้ประสบการณ์ในฐานะวุฒิสมาชิกจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาอย่างยิ่งยวด

รณยุทธ์ จิตรดอน:ลุงกับป้าพาเที่ยว

https://www.chulabook.com/blog/writer/3


อ่าน : 0

แชร์ :


เขียนความคิดเห็น