หนังสือปกอ่อน
฿ 225.00
250.00
ประหยัด 10 %
Barcode : 9786167150710
ISBN : 9786167150710
ปีพิมพ์ : 1 / 2560
ขนาด ( w x h ) : 125 x 185 mm.
จำนวนหน้า : 250 หน้า
หมวดหนังสือ : สัตววิทยา
หนังสือเล่มนี้ รวบรวมข้อเขียน 7 เรื่อง ที่เสนอทิศทางการศึกษาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่พยายามหลีกเลี่ยงการให้ “มนุษย์” เป็นศูนย์กลางของการศึกษา โดยขยายความสำคัญไปสู่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นเพียงสภาพแวดล้อมของมนุษย์ - นกกรงหัวจุก งานชาติพันธุ์วรรณา (ethnography) ขนาดสั้นที่ให้รายละเอียดของความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกที่ค่อยๆ เคลื่อนโลกของตนเองเข้าหากันทีละน้อย - งู : สัตว์ร้าย สัตว์เลี้ยง เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับการทำความเข้าใจโลกของงูเลี้ยง สังคมของคนรักงูสวยงามและชุมชนผู้รักสัตว์เลื้อยคลานของไทย - ชีวิตสุนัขไร้เจ้าของ ศึกษาติดตามชีวิตประจำวันของสุนัขไร้เจ้าของ และพบว่ามีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ชัดเจน มีอาณาเขตและการแบ่งพื้นที่ของการหากินอย่างมีแบบแผน - ทำไมเราจึงเกลียดแมลงสาบ? แมลงสาบในสังคมวัฒนธรรม ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์และที่ทางของสัตว์ในสังคมมนุษย์ - ไปสวนสัตว์ ดู (สวน)สัตว์ แสดงให้เห็นว่าความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ นั้นเชื่อมโยงกับการเดินทาง การสำรวจ การปกครอง - สัตว์ศึกษา: สู่โลกหลังภาพแทน ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของทฤษฎีหลังมนุษยนิยม ที่ตั้งคำถามกับแนวทางที่ยกมนุษย์ให้เป็นศูนย์กลางของการให้ค่าความหมายทางวัฒนธรรมและการยกให้มนุษย์เป็นองค์ประธานของการผลิตความรู้