รัฐและขบวนการอนารยะสังคมไทยในกรณีปราสาทพระวิหาร | ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
รัฐและขบวนการอนารยะสังคมไทยในกรณีปราสาทพระวิหาร
รัฐและขบวนการอนารยะสังคมไทยในกรณีปราสาทพระวิหาร

รัฐและขบวนการอนารยะสังคมไทยในกรณีปราสาทพระวิหาร

ผู้แต่ง : พวงทอง ภวัครพันธุ์

หนังสือปกอ่อน

฿ 153.00

170.00

ประหยัด 10 %

TAGS :

ข้อมูลหนังสือ

Barcode : 9786167150345

ISBN : 9786167150345

ปีพิมพ์ : 1 / 2556

ขนาด ( w x h ) : 145 x 210 mm.

จำนวนหน้า : 176 หน้า

หมวดหนังสือ : เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

รายละเอียดสินค้า : รัฐและขบวนการอนารยะสังคมไทยในกรณีปราสาทพระวิหาร

งานวิจัย “รัฐและขบวนการอนารยะในสังคมไทยในกรณีประสาทพระวิหาร” มุ่งพิจารณาบทบาทของหน่วยงานของรัฐและขบวนการเคลื่อนไหวภายใต้การนำของกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยในกรณีปราสาทพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อน และต้องการประเมินผลกระทบในระยะยาวของการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะอนารยะ (uncivil) ของกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วยการพิจารณาเรื่องนี้ภายใต้บริบทของนโยบายต่างประเทศของไทยในยุคหลังสงครามเย็นที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านและต่อกัมพูชาเป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ ยังมุ่งอธิบายบทบาทของกลุ่ม-องค์กรรัฐและนอกรัฐที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการรณรงค์ของกลุ่มพันธมิตรฯ ในกรณีปราสาทพระวิหารด้วย การสิ้นสุดของสงครามเย็นและสงครามในกัมพูชาในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้เปิดโอกาสให้กับยุคใหม่ของการร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้กำหนดนโยบายของไทยได้วางยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางเศรษฐกิจและผู้นำในภูมิภาค นโยบายต่างๆ ที่หน่วยงานของรัฐผลักดันออกมาส่งผลแปรเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา จากศัตรูให้กลายเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและการเมือง เศรษฐกิจของสองประเทศมีลักษณะบูรณาการและขึ้นต่อกันทางเศรษฐกิจมากขึ้น การที่รัฐบาลไทยสนับสนุนกัมพูชาในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกก็เป็นผลมาจากยุทธศาสตร์บูรณาการด้านการท่องเที่ยวที่มีไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาตกต่ำอย่างรวดเร็วนับแต่กลาง ค.ศ.2008 / พ.ศ.2551 เมื่อกลุ่มพันธมิตรฯ คัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และโจมตีว่าเป็นแผนการที่เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของทักษิณ ชินวัตร ในกัมพูชา และจะทำให้ไทยต้องสูญเสียพื้นที่ทับซ้อนใกล้ตัวปราสาทและพื้นที่ชายแดนขนาดใหญ่ให้กับกัมพูชาในที่สุด อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาของกลุ่มพันธมิตรฯ มองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่าความร่วมมือเรื่องปราสาทพระวิหารได้ดำเนินต่อเนื่องมาโดยรัฐบาลไทยสามชุด และมีหน่วยงานของรัฐหลายแห่งเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยมีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนอนุสาวรีย์แห่งความขัดแย้งนี้ให้เป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างไทย – กัมพูชา จึงนับเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รัฐที่เคยเป็นปฏิปักษ์ต่อกันได้พยายามใช้แนวทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทเขตแดน ขบวนการชาตินิยมสุดโต่งภายใต้การนำของกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ทำลายความร่วมมือดังกล่าว และเป็นปฏิปักษ์โดยตรงต่อยุทธศาสตร์ในระดับภูมิภาคของไทยในยุคหลังสงครามเย็น ปราสาทพระวิหารได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความเกลียดชังระหว่างสองประเทศในที่สุด ความสำเร็จในการรณรงค์ของกลุ่มพันธมิตรฯ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนจากกลุ่ม – องค์กรต่างๆ ในสังคม ซึ่งได้สร้างความชอบธรรมให้กับการโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มพันธมิตรฯ การโฆษณาชวนเชื่อนี้ยังส่งผลต่อความเข้าใจที่ผิดต่อสาธารณชน จนกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการแก้ไขปัญหาต่างๆระหว่างรัฐบาลไทย-กัมพูชาในเวลาต่อมา บทบาทของกลุ่มพันธมิตรฯ จึงท้าทายต่อความเข้าใจเดิมที่มักมองว่าขบวนการประชาสังคมมีคุณูปการต่อการพัฒนาประชาธิปไตยและจะช่วยสร้างสรรค์อาเซียนให้มีความเป็นประชาคมมากขึ้น

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

ลูกค้าที่ซื้อสินค้านี้ ซื้อสินค้านี้ด้วย

คะแนนรีวิวจากผู้ซื้อจริง

0 เต็ม 5 ดาว
0 คน
0
0
0
0
0