หนังสือปกอ่อน
฿ 197.00
219.00
ประหยัด 10 %
Barcode : 9786163056689
ISBN : 9786163056689
ปีพิมพ์ : 2 / 2555
ขนาด ( w x h ) : 185 x 240 mm.
จำนวนหน้า : 297 หน้า
หมวดหนังสือ : ประวัติศาสตร์
“สองยุคแห่งวัฒนธรรมไวมาร์” เป็นงานวิชาการในภาษาไทยที่มีคุณค่าสูงและมีความเป็นพิเศษ มีคุณค่าสูงเพราะแนะนำให้คนเราคนไทยรู้จักวัฒนธรรม และรู้จักประวัติศาสตร์เยอรมัน มีความเป็นพิเศษเพราะโดยปรกติแล้วเป็นเรื่องที่ยากมากที่นักวิชาการไทยจะเข้าใจวัฒนธรรมประเทศในยุโรปอย่างลึกซึ้ง จนถึงขั้นที่ถ่ายทอดออกมาได้ดีมากๆ อย่างที่อาจารย์พรสรรค์ ได้ทำหนังสือเล่มนี้ ในส่วนที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์ อาจารย์พรสรรค์ยิ่งทำได้ดีเป็นพิเศษ เธอเขียนได้ชัดเจนมากที่สุด และยังสามารถโยงให้เห็นความเกี่ยวพันอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวเยอรมันอีกด้วย งานของอาจารย์พรสรรค์มีความเป็นหนึ่งเดียว แม้ว่าเธอจะบรรยายและอธิบายถึงยุคสองยุค คือยุคคลาสสิกในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 (ค.ศ.1775-1832) และยุคสาธารณรัฐในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 (ค.ศ.1919-1933) ยุคที่เธอถือเป็นแกนกลางของวัฒนธรรมเยอรมัน คือยุคคลาสสิก ยุคของเกอเธ่อ (ค.ศ.1749-1832) และชิลเลอร์ (ค.ศ.1759-1805) เป็นวัฒนธรรมแบบของชุมชนและประเทศชาติ ส่วนวัฒนธรรมแห่งยุคสาธารณรัฐเป็นวัฒนธรรมใหม่ของชาวเยอรมัน เป็นผลจากพัฒนาการของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม และบางส่วนถือกำเนิดจากประเทศยุโรปอื่นและสหรัฐอเมริกา เป็นวัฒนธรรมแบบระบบกลไกของมหาชน ผู้คนสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจ... ...ข้าพเจ้าขอบขอบคุณเธอ ที่ใช้ความอุตสาหะ วิริยะ เขียนหนังสือนี้ออกมาให้ข้าพเจ้าได้อ่าน ได้เข้าใจวัฒนธรรมเยอรมันมากขึ้น เธออธิบายสาระและความเป็นมาของวัฒนธรรมเยอรมันได้อย่างชัดเจน เธอชี้ประเด็นปัญหาการรับวัฒนธรรมปัจเจกนิยม ความคิดเรื่องเสรีภาพและประชาธิปไตยของมหาชน เข้าไปในวัฒนธรรมเยอรมัน รวมทั้งปัญหาที่วัฒนธรรมชุมชนและวัฒนธรรมแห่งชาติถูกอ้าง ถูกใช้เพื่อประหารผู้ต่อต้านและทำลายล้างชาติชาวยิว อาจารย์พรสรรค์มีความรู้ดีรอบด้าน ทั้งวัฒนธรรมในทุกรูปแบบ วรรณกรรม ละคร ดนตรี ภาพวาด ฯลฯ และประวัติศาสตร์การเมืองและสังคม หนังสือของเธอผสมผสานเรื่องวัฒนธรรมและเรื่องประวัติศาสตร์เป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้เราเข้าใจทั้งวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ได้ดีขึ้นอีกมาก แต่ละเรื่องช่วยอธิบายอีกเรื่องหนึ่งได้อย่างยอดเยี่ยม ข้าพเจ้าชื่นชมการริเริ่มนี้ของเธออย่างมาก หนังสือของเธอทำให้ข้าพเจ้าคิดมากขึ้นถึงความเกี่ยวพันระหว่างวัฒนธรรมไทยกับประวัติศาสตร์ไทย ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะมีการค้นคว้าและการเขียนว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับประวัติศาสตร์เช่นที่อาจารย์พรสรรค์ได้ริเริ่มไว้นี้ สำหรับกรณีของชาติอื่นๆ และชาติไทยต่อไป ฉัตรทิพย์ นาถสุภา