พระมหากษัตริย์-ขุนนาง :นาย-ไพร่ ในโครงสร้างสังคมไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ | ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
พระมหากษัตริย์-ขุนนาง :นาย-ไพร่ ในโครงสร้างสังคมไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
พระมหากษัตริย์-ขุนนาง :นาย-ไพร่ ในโครงสร้างสังคมไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พระมหากษัตริย์-ขุนนาง :นาย-ไพร่ ในโครงสร้างสังคมไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ผู้แต่ง : อคิน รพีพัฒน์ :บรรณาธิการ

หนังสือปกอ่อน

฿ 314.00

370.00

ประหยัด 15 %

TAGS :

ข้อมูลหนังสือ

Barcode : 9786167150642

ISBN : 9786167150642

ปีพิมพ์ : 1 / 2560

ขนาด ( w x h ) : 145 x 210 mm.

จำนวนหน้า : 296 หน้า

หมวดหนังสือ : ประวัติศาสตร์

รายละเอียดสินค้า : พระมหากษัตริย์-ขุนนาง :นาย-ไพร่ ในโครงสร้างสังคมไทยยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

คนไทยมองการจัดกลุ่มของคนคล้ายกับการจัดกลุ่มของช้าง คือต้องมีหัวหน้าเป็นผู้นำ เป็นแบบอย่างให้คนในกลุ่มเดียวกันทำตาม ทั้งในกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จะมีคนหนึ่งบัญชาการให้คนอื่นทำตาม กลุ่มมิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะคนในกลุ่มมีเป้าหมายร่วมกัน แต่เกิดจากความสัมพันธ์สองฝ่าย (dyadic relationships) ระหว่างหัวหน้ากลุ่มกับสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม ความสัมพันธ์ของคนในกลุ่มที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ ขึ้นอยู่กับสายการบังคับบัญชาซึ่งก็ยังหมายถึง ขึ้นอยู่กับสายการบังคับบัญชาซึ่งก็ยังหมายถึง ขึ้นอยู่กับฐานะของข้าราชการตามที่ระบุไว้ในระบบศักดินา ในบางกรณี สายการบังคับบัญชาอาจถูกกระทบโดยความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่กับผู้น้อย เช่น เมื่อผู้ใหญ่ออกคำสั่งให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรง ทำสิ่งที่ขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยตรงของบุคคลนั้น แต่ตราบใดที่ความแตกต่างในเรื่องฐานะตามระบบศักดินาไม่ถูกกระทบ เหตุการณ์ทำนองนี้ก็สามารถคลี่คลายได้ด้วยพลังของความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่กับผู้น้อย เพราะผู้น้อยต้องเคารพและ “เกรงใจผู้ใหญ่” ทุกคนรู้ฐานะของตัว และรู้ว่าควรปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างไรให้เหมาะสมกับฐานะของเขา

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

ลูกค้าที่ซื้อสินค้านี้ ซื้อสินค้านี้ด้วย

คะแนนรีวิวจากผู้ซื้อจริง

0 เต็ม 5 ดาว
0 คน
0
0
0
0
0