หนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานค้นคว้าวิจัยเล่มไหมใน ภูมิปัญญา
อินเดียโบราณ: ประวัติศาสตร์และปรัชญา ชุด เส้นทางและตัวตนของ
นักบวช ของผู้เขียน
จุดสำคัญของหนังสือเล่มนี้จะอยู่ที่การวิเคราะห์ทิศทาง เป้าหมาย
และวิถีทางของการเป็นนักบวชในอินเดียโบราณ สิ่งหนึ่งที่ค้นพบจ
ศึกษาก็คือทัศนคติ วัตรปฏิบัติ ตลอดจนรูปแบบการใช้ชีวิตของนักบวช
ทุกประเภทเกี่ยวข้องกับความเชื่อใน ""ตัวตน"" บางอย่าง ซึ่งอาจเป็นไป
ในทางบวกหรือลบก็ได้ ความเชื่อเกี่ยวกับ ""ตัวตน"" มีบทบาทสำคัญ
ในการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการดำเนินชีวิตให้แก่นักบวชในทุกสาย
วัฒนธรรม ตัวตนจึงเป็นคำสำคัญที่ช่วยกำหนดกรอบสำหรับการศึกษา
เรื่องนักบวชในงานชิ้นนี้ด้วย
ภาคหนึ่งของหนังสือเล่มนี้จะแสดงถึงเส้นทางการดำเนินชีวิตของ
นักบวชในสองสายวัฒนธรรมหลักที่พบในอินเดียโบราณ นั่นคือ (หนึ่ง)
วัฒนธรรมสายพราหมณ์ซึ่งเชื่อมโยงกับชาวอารอัน ภาษาสันสกฤตโบราณ
และวรรณกรรมชุดพระเวทที่กลายเป็นคัมภีร์กระแสหลัก เราจะเรียก
วัฒนธรรมสายนี้โดยย่อว่าวัฒนธรรมสายพระเวท และ (สอง) วัฒนธรรม
นอกสายพราหมณ์หรือวัฒนธรรมที่ปฏิเสธความศักดิ์สิทดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์
ชุดพระเวท สายนี้มีชื่อเรียกโดยภาพรวมว่าวัฒนธรรมสายสมณะ