หนังสือมีนื้อหาเกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ซึ่งตั้งอยู่ ณ เชิงเขาภูพาน ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี หนังสือจะนำเสนอหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยยุคดึกดำบรรพ์ที่ธารน้ำแข็งส่งผลต่อสภาพชั้นหินของภูพระบาท ร่องรอยภาพเขียนสีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ กิจกรรมทางพุทธศาสนาของผู้คนในสมัยทวารวดี และตำนานต่างๆ ที่สัมพันธ์กับภูพระบาท เช่น ตำนานอุรังคธาตุ ตำนานอุสาบารส ฯลฯ
สารบัญ
คำนำผู้เขียน
1 บทนำ
- สภาพทั่วไป
- ภูพระบาทนามนี้มีที่มา
- ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของผู้คนหลากช่วงเวลา
- สงบ สมถะ และเรียบง่าย นิยามการใช้พื้นที่บนภูพระบาท
- ภูพระบาทสู่มรดกโลก
2 ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์บนเพิงหิน
- เพิงหินและโขดหินสำคัญกับภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์
- กรรมวิธีเขียนภาพเขียนสี
- ความหมายของภาพเขียนสี
- การดัดแปลงการใช้งานในยุคประวัติศาสตร์
3 พุทธสถานอรัญญวาสี 1,000 ปีแต่ครั้งวัฒนธรรมทวารวดีภาคอีสาน
- ใบเสมาล้อมโขดหิน: พุทธศาสนาแบบทวารวดีภาคอีสานผสมผสานกับความเชื่อท้องถิ่น
- พุทธวิหารใต้เพิงหิน
- บำเพ็ญกรรมฐานใต้เพิงหิน
- พัทธสีมาสงฆ์บนลานหิน
- กลุ่มใบเสมาใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบาน
4 พระพุทธบาทและตำนานสถานที่ในวัฒนธรรมล้านช้าง
- ภูกูเวียน ชื่อเดิมของภูพระบาทในตำนานอุรังคธาตุ
- พระพุทธบาทศักดิ์สิทธิ์ประทานไว้ให้พญานาค
- อุสาบารส พระกึดพระพาน ตำนานพื้นถิ่นกับการอธิบายสถานที่
5 ส่งท้าย
บรรณานุกรม
ที่มาภาพ