Barcode : 3000000020089
หมวดหนังสือ : มานุษยวิทยา
อุษาคเนย์ หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) เป็น ภูมิภาคที่ประกอบด้วยความหลากหลายของกลุ่มสังคมและกลุ่มวัฒนธรรม ต่างๆ ที่สลับซับซ้อนมากที่สุดบริเวณหนึ่งของโลก การตั้งถิ่นฐานอัน หลากหลายและกระจายตัวอยู่ทั่วไปในภูมิภาค ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ตามหลักฐานทางโบราณคดี การบูรณาการทางสังคมที่ แตกต่างกันด้วยพัฒนาการภายในและการติดต่อแลกเปลี่ยนกับอารยธรรม ทางไกลที่มาจากโลกตะวันออกและโลกตะวันตก การเปลี่ยนผ่านลักษณะ สังคมจากสังคมแบบจารีตประเพณีมาสู่สังคมสมัยใหม่ด้วยอิทธิพลใน ช่วงสมัยอาณานิคมและหลังอาณานิคม ตลอดจนสภาวะโลกาภิวัตน์ใน ปัจจุบัน ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่สำคัญทางการศึกษาด้าน ประวัติศาสตร์ โบราณคดี มานุษยวิทยา ตลอดจนศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง นักมานุษยวิทยาเองให้ความสนใจศึกษาภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก จนทำให้อาณาบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็น “สวรรค์ของการศึกษา ทางมานุษยวิทยา” ที่ผ่านมางานศึกษาทางมานุษยวิทยาหลายชิ้นได้กลาย เป็นงานสำคัญในการทำความเข้าใจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น งานทางด้านโบราณคดีของ Solheim ศึกษาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงจน สร้างข้อเสนอใหม่ของแหล่งสำริดสำคัญของโลกนำไปสู่ข้อถกเถียงว่าด้วย พัฒนาการอารยธรรมจากภายใน งานศึกษาเชิงโครงสร้างทางการปกครอง ในสังคมคะฉิ่นและไทใหญ่ในประเทศเมียนมาของ Edmund Leach ทำให้ เห็นกลไกของวัฒนธรรมเชิงโครงสร้างมากกว่าระบบโครงสร้างหน้าที่ซึ่งเปิด ไปสู่แนวคิดว่าด้วยโครงสร้างนิยม (structuralism) งานศึกษาของ Clifford Geertz ศึกษาสังคมชวา บาหลี อินโดนีเซีย ที่อธิบายผ่านทฤษฎีการตีความทางวัฒนธรรมในเชิงสัญลักษณ์ สร้างแนวคิดในการมองรัฐและอำนาจของ ผู้ปกครองในภูมิภาคนี้ผ่านการแสดงทางสังคมที่เรียกกันว่านาฏรัฐหรือ รัฐนาฏกรรม