ไม่ใช่เพื่อผลกำไร :ทำไมประชาธิปไตยต้องการมนุษยศาสตร์? | ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
ไม่ใช่เพื่อผลกำไร :ทำไมประชาธิปไตยต้องการมนุษยศาสตร์?
ไม่ใช่เพื่อผลกำไร :ทำไมประชาธิปไตยต้องการมนุษยศาสตร์?

ไม่ใช่เพื่อผลกำไร :ทำไมประชาธิปไตยต้องการมนุษยศาสตร์?

ผู้แต่ง : มาร์ธา ซี. นุสบาม

หนังสือปกอ่อน

฿ 216.00

240.00

ประหยัด 10 %

TAGS :

ข้อมูลหนังสือ

Barcode : 9786167150840

ISBN : 9786167150840

ปีพิมพ์ : 1 / 2563

ขนาด ( w x h ) : 0 x 0 mm.

จำนวนหน้า : 0 หน้า

หมวดหนังสือ : รัฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง

รายละเอียดสินค้า : ไม่ใช่เพื่อผลกำไร :ทำไมประชาธิปไตยต้องการมนุษยศาสตร์?

ถ้าเราดูการเสนอและโต้แย้งทางการเมือง เช่น ที่ปรากฏใน ประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเชียน ของทูซิดิดีส เราจะพบว่าผู้คนไม่ได้ถกเถียงกันด้วยเหตุผลสักเท่าไร พวกเขาแทบไม่ตรวจสอบเป้าหมายของนโยบายสำคัญ ๆ หรือถามอย่างเป็นระบบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่พวกเขาเห็นว่าสำคัญจะดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ดังนั้น เราจะเห็นว่าปัญหาแรกที่เกิดจากการไม่ตรวจสอบตัวเอง คือทำให้เป้าหมายขาดความชัดเจน
เพลโตทำให้เราเห็นปัญหานี้ชัดเจนขึ้นในบทสนทนาชื่อ ลากิส (Laches) ที่ผู้บัญชาการทหารของเอเธนส์ 2 คน คือลากีสกับนีเกียส บอกไม่ได้ว่าความกล้าหาญของทหารคืออะไรทั้ง ๆ ที่พวกเขาคิดว่าตนเองก็มีมันอยู่ พวกเขาไม่แน่ใจว่าการมีความกล้าหาญต้องรวมถึงการคิดว่าสิ่งที่มีค่าควรแก่การต่อสู้คืออะไร ที่แท้อะไรคือผลประโยชน์ของเมือง หรือไม่ เมื่อโสเครติสเสนอว่าควรคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย ทั้งคู่ก็เห็นด้วย แต่ในตอนแรก พวกเขาไม่ได้คิดถึงเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง
ความสับสนเกี่ยวกับหนึ่งในคุณค่าที่สำคัญยิ่งของพวกเขา อาจไม่มีผลร้ายในบริบทที่การตัดสินใจทำได้ง่าย แต่สำหรับตัวเลือกที่ตัดสินใจยาก จะดีกว่าถ้าเราชัดเจนว่าต้องการอะไรและอะไรที่สำคัญสำหรับเรา เป็นไปได้ว่า เพลโตเชื่อมโยงการไม่ตรวจสอบตนเองของพวกเขากับการสูญเสียกำลังพลและนโยบายที่ผิดพลาดในสงครามครั้งถัดมาที่ซิซิลี ซึ่งนีเกียสเป็นผู้วางแผนการรบที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้ที่น่าอับอายของเอเธนส์ การตรวจสอบตนเองแบบโสเครติสไม่ได้ประกันว่าเราจะมีเป้าหมายที่ดี แต่อย่างน้อยก็ทำให้เห็นว่าเป้าหมายต่าง ๆ เชื่อมโยงกันอย่างไร และไม่มีเรื่องสำคัญใดตกหล่นเพราะความผลีผลามและพลั้งเผลอ
อีกปัญหาหนึ่งของคนที่ไม่ตรวจสอบตัวเองคือพวกเขามักตกอยู่ใต้อิทธิพลของคนอื่นได้ง่าย เมื่อนักการเมืองผู้มีวาทศิลป์ปลุกเร้าชาวเอเธนส์ด้วยโวหารที่เร้าใจ แต่ตรรกะเลว พวกเขาก็พร้อมจะคล้อยตามโดยไม่ตรวจสอบข้อเสนอ แล้วก็พร้อมจะเปลี่ยนไปอยู่ฝ่ายตรงกันข้าม โดยไม่คิดว่าจริง ๆ แล้วพวกเขาอยากอยู่ตรงไหนกันแน่

ตัวอย่างที่ชัดเจนเห็นได้จากประวัติศาสตร์ของทูซิดิดีส ในการอภิปรายกรณีที่ไมทิลีน เมืองขึ้นของเอเธนส์ก่อกบฏ สภาซึ่งอยู่ใต้อิทธิพลของคลีออนนักการเมืองชั้นเลว ลงมติให้ฆ่าชายชาวไมทิลีนทุกคน และให้จับผู้หญิงและเด็กมาเป็นทาส เอเธนส์จึงส่งเรือรบไปตามคำสั่ง ต่อมา ดิโอโดตุสพูดให้ประชาชนใจเย็นลงและขอให้มีความกรุณา สภาคล้อยตามและลงมติให้ยกเลิกคำสั่งเดิม แล้วส่งเรือลำที่สองไปยับยั้งเรือลำแรก บังเอิญเรือลำแรกขาดลมส่งใบเรือ เรือลำที่สองจึงตามมาทัน ชะตากรรมของคนจำนวนมาก และนโยบายที่สำคัญจึงถูกตัดสินโดยความบังเอิญ แทนที่จะเป็นผลมาจากการถกแถลงกันอย่างมีเหตุผล

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

ลูกค้าที่ซื้อสินค้านี้ ซื้อสินค้านี้ด้วย

คะแนนรีวิวจากผู้ซื้อจริง

0 เต็ม 5 ดาว
0 คน
0
0
0
0
0