อี-บุ๊ค
฿ 500.00
845.00
ประหยัด 40 %
Barcode : 3000000008091
หมวดหนังสือ : เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
การทำความเข้าใจ “ลักษณะร่วมทางวัฒนธรรม” หรือ “มรดกร่วมทางวัฒนธรรม” จะเป็นการขยายพื้นที่และการรับรู้ให้ผู้คนในลุ่มน้ำโขงได้ตระหนักและสัมผัสถึงลักษณะร่วมหรือมรดกร่วมทางวัฒนธรรมเพื่อนบ้านในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การรับรู้นี้น่าจะช่วยให้ผู้คนในภูมิภาคนี้ได้เข้าใจถึงสิ่งที่เรียกว่า “ความเป็นรากเหง้าเดียวกัน” เป็นอย่างดี เพราะความเข้าใจคำว่า “วัฒนธรรม” แต่เดิมนั้น มุ่งเน้นไปยังสิ่งที่เรียกว่า “ศิลปวัฒนธรรม” “เป็นมรดกภูมิปัญญา” “เป็นสิ่งที่ดีงาม” ของรัฐชาติบ้านเมืองและแผ่นดินที่จะต้องอนุรักษ์เป็นสำคัญ อันเป็นนัยของการนิยามวัฒนธรรมที่เน้นเพื่อแสดงถึงลักษณะ “ความรักชาติ” หรือ “ชาตินิยม” นิยามวัฒนธรรมในแง่ดังกล่าวจึงเป็นไปเพื่อการบูรณาการถึงการเป็นรัฐชาติ เป็นประเทศชาติที่ต้องเป็น “สิ่งเหมือนกัน” หรือ “มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน