E-book
฿ 370.00
370.00
Discount 0 %
Barcode : 3000000007906
Book category : หนังสือสำหรับพ่อแม่
เรื่ององของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จริง ๆ แล้วน่าจะเป็นเรื่องธรรมชาติที่มารดาที่คลอดลูกออกมาแล้วต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และควรมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้เนื่องจาก “นมของแม่ของส่ิงมีชีวิตใด ๆ ย่อมเหมาะสมที่สุดกับลูกของส่ิงมีชีวิตนั้น ๆ” โดยเป็นเช่นเดียวกันกับธรรมชาติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ แต่หากมองกลับไปดูถึงประวัติศาสตร์พบว่า ความเชื่อในสมัยก่อนทั้งในยุโรปและเอเชียมีหลายสิ่งที่สอดคล้องกัน ได้แก่ หัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลืองเป็นน้ำนมที่ไม่ดี ไม่เหมาะจะให้กับทารก เนื่องจากเห็นลักษณะของสีของน ้านมที่แตกต่างและความเชื่อที่ว่าน้ำนมที่ดีควรมีสีขาว เช่นเดียวกันกับการให้อาหารเสริมที่เริ่มให้เร็วก่อนเวลาที่เหมาะสมด้วยความเชื่อต่าง ๆ ได้แก่ ทารกต้องกินน้ำเพื่อแก้ไขฝ้าขาวในปาก ทารกต้องกินชา ความเชื่อเรื่องเครื่องดื่มสมุนไพรหรือซุปไก่เพื่อช่วยให้ทารกเจริญเติบโตได้ดี และความเชื่อเรื่องทารกต้องกินน ้าส้มเพื่อช่วยให้การขับถ่ายได้ดี ร่วมกับค่านิยมนมผงดัดแปลงส าหรับทารกที่เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปและอเมริกา การที่มารดาต้องออกไปท างาน การมีการตั้งโรงงานเริ่มผลิตนมผงดัดแปลงส าหรับทารกขึ้น ค่านิยมและการตลาดของนมผงดัดแปลงส าหรับทารกที่มักใช้ในผู้ที่มีฐานะ ภาพการใช้นมผงดัดแปลงส าหรับทารกจึงถูกสร้างให้เสมือนมีคุณค่าและสามารถใช้แทนนมแม่ได้ ทั้ง ๆ ที่การผลิตและการเสริมเติมแต่งสารต่าง ๆ ในนมผงดัดแปลงส าหรับทารกพยายามเลียนแบบนมแม่ ซึ่งนมแม่มีสารหลายร้อยชนิดที่นมผงดัดแปลงส าหรับทารกยังไม่สามารถเติมแต่งให้เทียบเท่าได้ สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยแม่ ซึ่งธรรมดาควรจะมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามธรรมชาติที่สูง โดยนมผงดัดแปลงส าหรับทารกจะใช้เฉพาะในทารกที่มีปัญหาไม่สามารถให้นมแม่ได้ซึ่งมีจ านวนน้อย แต่ความเป็นจริงในปัจจุบัน อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต ่าจนต้องมีการรณรงค์ส่งเสริม และสนับสนุนเพื่อเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นเวลาหกเดือนพบว่าอยู่ในกลุ่มต ่าล าดับท้ายของประเทศในโลก จากตัวเลขที่มีการศึกษาและจากส ารวจขององค์การยูนิเซฟพบว่ามีเพียงร้อยละ 12-15 ซึ่งหมายถึงว่ามีทารกที่ได้รับนมอย่างไม่เหมาะสมถึงร้อยละ 85-88 ค่าที่สูงมากนี้น่าจะท าให้ทุกภาคส่วนของสังคมตื่นตัว ร่วมมือ ให้ความส าคัญต่อการสนับสนุน และการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่ทารก ซึ่งจะส่งผลในระยะยาวต่อการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า ฉลาดและมีสุขภาพที่ดีให้แก่สังคม ช่วยพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจะมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพียง ที่ใช้หลัก “พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน” ที่มีอยู่ในค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคมไทยด้วยหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทบทวนประวัติศาสตร์ที่มา ปัญหาความส าคัญ ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แนวทางในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงพยาบาล ชุมชน และเครือข่ายในสังคม รวมถึงหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารส าหรับทารกและเด็กเล็กและ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหวังว่าจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่สนใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะน าไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยช่วยให้ “ธรรมชาติของการเลีย้งลูกด้วยนมแม่เป็ นธรรมชาติของมารดา”