ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (ฉบับชาวบ้าน) (หนังสือชุดความรู้เพื่อชุมชน เล่มที่ 150) | ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (ฉบับชาวบ้าน) (หนังสือชุดความรู้เพื่อชุมชน เล่มที่ 150)
only ebook
ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (ฉบับชาวบ้าน) (หนังสือชุดความรู้เพื่อชุมชน เล่มที่ 150)

ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (ฉบับชาวบ้าน) (หนังสือชุดความรู้เพื่อชุมชน เล่มที่ 150)

Author : เกียรติประถม สินรุ่งเรืองกุล

E-book

฿ 50.00

150.00

Discount 66 %

TAGS :

Book info

Barcode : 3000000000559

Book category : พจนานุกรม/อ้างอิงสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์

Product details : ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (ฉบับชาวบ้าน) (หนังสือชุดความรู้เพื่อชุมชน เล่มที่ 150)

ศัพท์คอมพิวเตอร์มีความเป็นประวัติศาสตร์ คำศัพท์ที่เคยเด่นดังในช่วงเวลาหนึ่ง อาจกลายเป็นคำศัพท์พื้นฐานในเวลาต่อมา เช่น internet, e-mail, download และอีกหลาย คำศัพท์ที่เคยทันสมัยมากในครั้งหนึ่ง แต่วันนี้กลับกลายเป็นคำศัพท์พื้นฐานที่คนรุ่นหลังไม่รู้จัก เสียด้วยซ้ำไป เช่น โปรแกรม dBASE III Plus, CU Writer, LOTUS 1-2-3 และ Netscape Navigator เป็นต้น บางคำเป็นคำศัพท์เทคนิคที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปอาจไม่เคยรู้จัก เช่น DIMM ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับแรม และคำว่า Co-lo ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้บริการเช่าพื้นที่บนเครื่อง เซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น บางคำศัพท์ก็ใหม่มากเสียจนตามไม่ทัน หากจะว่าไปแล้ว ศัพท์คอมพิวเตอร์ และศัพท์เทคโนโลยี ถือเป็นคำศัพท์ที่มาเร็ว แล้วก็กลายเป็นคำศัพท์พื้นฐานในเวลาอันรวดเร็ว เช่นกัน ตัวอย่าง nano technology, hi5, facebook และ 3G เป็นต้น หนังสือเล่มนี้ขอร่วมเป็นประวัติศาสตร์กับคำศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ที่เมื่อเวลา ผ่านไปอาจกลายเป็นของเก่าที่ไม่ค่อยได้ใช้ หรือคนรุ่นต่อจากนี้ไม่รู้จักเลยก็ได้ หนังสือเล่มนี้ อาจกลายเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเก็บสะสมก็ได้ จะได้เอาไว้เปิดอ่านในวันเปลี่ยนวัย ขอขอบคุณ ทุกท่านที่ให้เกียรติใช้หนังสือเล่มนี้เป็นอาหารสมอง อนึ่ง หนังสือเล่มนี้เน้นเขียนทับศัพท์ภาษาไทยที่สอดคล้องกับมาตรฐานกลางของ “สำนักราชบัณฑิตยสถาน” ตัวอย่าง animation เขียนทับศัพท์ภาษาไทยเป็นแอนิเมชัน (แต่ไม่ เขียนเป็น “แอนนิเมชัน”) หรือภาษา Pascal เขียนทับศัพท์ปาสกาล (แต่ไม่เขียนเป็น “ปาสคาล”) หรือ bluetooth เขียนทับศัพท์บลูทูท (แต่ไม่เขียนเป็น “บลูทูธ”) บางคำศัพท์เมื่ออ่านแล้วอาจ ขัดต่อความรู้สึกของผู้คนตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น คำว่า video คนรุ่นใหม่นิยมอ่าน/เขียนว่า “วิดีโอ” แต่มีน้อยคน (โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่) ที่ใช้คำ “วีดิทัศน์” จะเห็นว่า บางคำศัพท์ไม่นิยม เขียนชื่อที่แปลเป็นไทย เนื่องจากสื่อสารแปลกหูแปลกตา เช่น คำว่า record มีใครสักกี่คนที่เขียน “ระเบียน” แต่มักเขียนทับศัพท์ “เรคอร์ด” มากกว่า เป็นต้น ดังนั้น ในบางคำศัพท์จึงขอคงไว้ ตามสมัยนิยม เช่น “วิดีโอ” (video) จะไม่เขียน “วีดิทัศน์” เป็นต้น

Related products

Review score from buyers

0 Full 5 Star
0 People
0
0
0
0
0