E-book
฿ 169.00
234.00
Discount 27 %
Barcode : 3000000008056
Book category : เศรษฐศาสตร์ทั่วไป
ตำรานี้ใช้เพื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ ในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิตหรือสูงกว่า และยังสามารถนาไปใช้ประโยชน์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยสาระภายในเล่มประกอบไปด้วยความหมายและความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในระบบเศรษฐกิจ แนวคิดเกี่ยวกับ ทุนมนุษย์หลักการตัดสินใจลงทุนในมนุษย์ การลงทุนในทุนมนุษย์รูปแบบต่าง ๆ การลงทุนในสุขภาพอนามัย การย้ายถิ่น ความแตกต่างกันของค่าจ้าง เนื้อหาที่น าเสนอเน้นการประยุกต์ใช้หลักการและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์แรงงาน หลักการทางจิตวิทยา เข้ามาร่วมอธิบายปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นตัวกำหนด ค่าจ้าง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือบุคคลหนึ่งจะมีรายได้ หรือค่าจ้างที่แตกต่างจากคนอื่นเป็นเพราะสาเหตุใด เริ่มตั้งแต่การลงทุนในมนุษย์ (Human Capital) ที่เริ่มจากสถาบันครอบครัว โรงเรียน องค์กรหรือสถานที่ทำงาน ตลอดจนการดูแลตัวเองด้านสุขภาพให้พร้อมต่อการทำงาน การลงทุนเคลื่อนย้ายตัวเองไปทำงานในประเทศต่าง ๆ การลงทุนของพ่อแม่ ที่ทำให้เกิดการพัฒนาการของทุนมนุษย์ข้ามรุ่นคน (Generation Mobility) เหล่านี้มีงานวิจัยที่พิสูจน์ และข้อมูลเป็นปัจจุบัน ณ ปีที่ผู้เขียนรวบรวมตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 เป็นต้นมา เนื่องจากตั้งแต่ ปีค.ศ. 1973 ที่ Becker ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสถาบันครอบครัวว่าส่งผลต่อคุณภาพของบุตรอย่างไรแล้ว ภายหลังปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ศาสตร์ด้านจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์เริ่มมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น ตัวแปรหลายตัวแปรด้านพฤติกรรม ด้านบุคลิกลักษณะที่เกิดจากการวัดผลโดยใช้หลักจิตวิทยาได้เพิ่มเข้ามาเพื่อใช้อธิบายตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์ เช่น รายได้ ความส าเร็จด้านการศึกษา เป็นต้น (Heckman James J., Stixrud, and Urzua, 2006) ภายในเล่ม แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ 1) บทนำ 2) ก่อนแรงงานเข้าสู่ตลาดแรงงาน 3) ภายหลังที่แรงงานเข้าสู่ตลาดแรงงาน และ 4) บทสรุป ผู้เขียนคาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในมุนษย์ได้ทุกสถาบัน (Institution)