ราคารวม : ฿ 0.00
เดือนที่ผ่านมาได้เดินทางไปปากช่อง (ปากช่องไม่ใช่หมายถึงเฉพาะเขาใหญ่เท่านั้น) รวม 4 ครั้ง และเดือนนี้การเดินทาง "ทัวร์บุญ" จะครอบคลุมพื้นที่หลากหลายขึ้น แต่งาน “ทัวร์บุญ” ยังคงจะต้องเดินทางเข้าพื้นที่ปากช่องหลายครั้ง จึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของอำเภอปากช่อง ตั้งแต่เป็นบ้านในพื้นที่เล็กๆ ป่าดงพญาเย็น กระทั่งเติบโตเป็นอำเภอปากช่องที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศในปัจจุบันมาเล่าสู่กันฟังด้วย
เมื่อปี พ.ศ. 2430 บริเวณพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของอำเภอปากช่องในปัจจุบัน ขึ้นกับตำบลขนงพระ อำเภอจันทึก ต่อมาปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์ให้ก่อสร้างทางรถไฟสายแรก กรุงเทพฯ - โคราช โดยต้องสร้างทางผ่านกลางหมู่บ้าน และจำเป็นต้องระเบิดภูเขาเพื่อวางทางรถไฟ จึงทำให้หมู่บ้านถูกระเบิดเป็นช่อง จึงได้ชื่อว่า "บ้านปากช่อง"
เมื่อปี พ.ศ. 2482 ทางการสั่งยุบตำบลขนงพระ อำเภอจันทึก ให้บ้านปากช่องไปขึ้นกับตำบลจันทึก อำเภอสีคิ้วแทน กระทั่งปี พ.ศ. 2492 บ้านปากช่องได้รับการยกฐานะเป็นตำบลปากช่อง และวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 ก็ได้ยกฐานะขึ้นอีก เป็นกิ่งอำเภอปากช่อง และในปีเดียวกันนั้นเอง ทหารอเมริกันได้เข้ามาฝึกซ้อมรบที่จังหวัดนครราชสีมา ได้ก่อสร้างถนนเฟรนชิปหรือถนน "มิตรภาพ" จากสระบุรี-ปากช่อง-นครราชสีมา ไว้เป็นอนุสรณ์ กระทั่งปีวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ตำบลปากช่องก็ได้รับการยกฐานะให้เป็นอำเภอปากช่อง
ปัจจุบันอำเภอปากช่องแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล ได้แก่ ตำบลปากช่อง ตำบลกลางดง ตำบลจันทึก ตำบลวังกะทะ ตำบลหมูสี ตำบลหนองสาหร่าย ตำบลขนงพระ ตำบลโป่งตาลอง ตำบลคลองม่วง ตำบลหนองน้ำแดง ตำบลวังไทร ตำบลพญาเย็น
อำเภอปากช่องมีเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งทางขึ้นอุทยานด้านอำเภอปากช่องเป็นถนนที่สามารถขึ้นไปถึงบริเวณอุทยานได้สะดวก ปัจจุบันจึงได้รับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งร้านอาหาร รีสอร์ตและโรงแรมมากมาย
วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2565 ได้ร่วมพิธีบูชาข้าวพระ on line โดยเริ่มต้นพิธีด้วยปฏิบัติธรรม/พิธีบูชาข้าวพระ กล่าวคำถวาย ส่วนต่อขยายสภาธรรมกายสากล กล่าวคำถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ 100,000 รูป และกล่าวคำถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน ช่วงบ่ายเป็นพิธีทอดผ้าป่าธรรมชัยเพื่อส่วนต่อขยายสภาธรรมกายสากล
เริ่มต้นสัปดาห์ 6-12 มิถุนายน ได้ร่วมบุญซื้อสีทาองค์พระพุทธเจ้า 2 กระป๋อง@ 3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท ซึ่งได้เคยทำบุญสร้างเจดีย์วัดป่าบ่อทอง อำเภอปะคา บุรีรัมย์ มาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อคราววันคล้ายวันเกิด 12 มีนาคม ที่ผ่านมา 6,000 บาท
และได้ถือปฏิบัติทุกวันพระ คือ ถวายภัตตาหาร(ข้าวแกงส้ม ห่อหมกปลากราย ข้าวผัดแหนม นมเปรี้ยว กล้วยน้ำว้า 16-18 ลูก) 3+1 ชุด เป็นสังฆทาน ณ วัดเสมียนนารี ในวันที่ 7 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันพระขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 เมื่อกลับเข้าบ้านแล้วได้จุดธูป 36 ดอก ขอขมากรรม ต่อองค์เทพพระพิฆเนศ ขอให้ได้รับความสำเร็จสมปรารถนา เทอญ สาธุ
วันรุ่งขึ้นซึ่งตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน ได้เดินทางไปปากช่อง โดยคราวนี้เข้าพักที่โรงแรม .Banmai Vintage ซึ่งเจ้าของทำสำเร็จอย่างสูงจากร้าน บ้านไม้ชายน้ำ โดยขยายซื้อที่ดินข้ามลำตะคองโดยใช้สะพานแขวน ข้ามไปยังเกาะแก้วซึ่งลำตะคองล้อมรอบจึงได้ชื่อว่า ”เกาะแก้ว” เป็นแขกของโรงแรมเพียงห้องเดียว จึงได้รับการดูแลจากเจ้าของดีเป็นพิเศษ สำหรับตัวห้องพักอยู่ติดสระน้ำ ด้านหลังห้องเปิดออกไปเป็นลำตะคอง ราคาค่าห้องพร้อมอาหารเช้า (ยังคงเป็นไข่กระทะ+โจ๊กหมู+ปาท่องโก๋ เหมือนเมื่อเคยมาพักเมื่อ 20 ปีก่อน)
บรรยากาศจะต่างจากโรงแรมในเขาใหญ่ นอกจากราคาถูกกว่า 3-4 เท่าแล้ว ในเขตตัวอำเภอมีความเป็นเมืองและธรรมชาติในตัวครับ สุดยอดเลย
โดยวัตถุประสงค์ของการไปปากช่องรอบนี้ ก็เพื่อเตรียมงานการใช้ที่ดินของศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชร ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง ซึ่งพื้นที่ของศูนย์ปฏิบัติธรรมมีทั้งในส่วนที่เป็นศาสนสถานใช้ปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว ส่วนที่ศูนย์ฯ จัดหามาได้สร้างบ้านพักให้สาธุชนมาปฏิบัติธรรมพัก ส่วนที่ทาง อบต. อนุญาตให้ใช้พื้นที่ ซึ่งศูนย์ฯ ได้ลงทั้งไม้ยืนต้น และไม้ผลเต็มพื้นที่ มีสร้างซุ้มให้เสาวรสขึ้น มัลเบอร์ลี่ก็ลงดินไว้แล้วคงจะต้องไปทำร้านให้ด้วย และส่วนที่เป็นอาคารศาสนสถานที่กาลังยื่นขออนุญาตสร้างวัดอยู่
พื้นที่ตรงนี้อยู่ในเขตลุ่มน้ำลำตะคอง ทางด้านทิศตะวันตกของนครราชสีมา เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำน่าสังเกตว่าน้ำดื่มที่ผ่านเครื่องกรองแล้วจะไม่มีตะกรันมากผิดปกติ สามารถใช้ดื่มได้ คงจะต้องคอยติดตามความคืบหน้าของการใช้ที่ดินของศูนย์ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
เดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้เพียงวันเดียว วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน ก็เดินทางกลับไปที่ปากช่องอีก โดยระหว่างทางได้แวะรับพันธุ์อะโวคาโด 3 พันธุ์ที่สั่งไว้ มีทั้งปีเตอร์สัน ทูป 7 และบัคคาเนียร์ อย่างละ 10 ต้น ได้แถมพันธุ์แฮสมาปลูกอีก 1 ต้น เรียกแฮสอเมริกัน รสมัน- ลูกใหญ่
เมื่อคืนที่ 11 มิถุนายน ได้มานอนพักที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชร ปากช่อง ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอปากช่อง อยู่ตลอดแนวเขายายเที่ยง เพียงแต่มีเขื่อนลำตะคองกั้นอยู่ ที่พักแยกออกจากศูนย์ปฏิบัติธรรม มีต้นไม้นานาชนิดปลูกไว้แล้วเป็นจำนวนมากตั้งแต่ทางเข้าศูนย์ฯ มีทั้งไผ่ ไม้ยืนต้น และไม้ผล ทั้งกล้วย มะม่วง ขนุน และมัลเบอร์รี่ หลังจากถวายภัตตาหารเช้าแล้ว พระอาจารย์ทั้ง 2 รูป ได้พานำชมสถานที่ ที่ท่านได้ปรับภูมิทัศน์ และสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้ จึงได้ลงอโวคาโด ที่จัดเตรียมมา 26 ต้น เหลือ 5 ต้น มีญาติธรรมที่กาญจนบุรีสั่งให้หาให้
หลังอาหารกลางวัน จึงได้นำพระอาจารย์ทั้ง 2 ไปกราบนมัสการ พระศรีรัตนากร รองเจ้าคณะภาค 12 ผอ.ศูนย์การศึกษาพระปริยัติธรรมวัดไตรมิตรวิทยาราม (เขาแม่ชี) และพระปลัดธนวัธน์ เจ้าอาวาสวัดหนองแก ตำบลวังไทร การเดินทางมาศูนย์ตะวันเพชรในครั้งนี้ นอกจากจะได้รับบุญปลูกต้นอโวคาโดแล้ว ยังได้กลับมาแต่งกิ่งมัลเบอร์รี่ ซึ่งเฉพาะติดกับอาคารบ้านพักก็มีถึง 15 ต้นด้วยกัน สาธุ
นอกจากจะไปรับบุญปลูกอโวคาโดที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชรแล้ว ที่บ้านผมเองก็ปลูกต้นไม้หลายชนิด จะเห็นได้ว่าไม้ผลหลายชนิดสามารถปลูกได้เองที่บ้าน แม้อาจจะให้ผลช้า ก็สามารถเร่งให้ได้พันธ์ุที่อยากได้ ไม้ผลหลายชนิดให้ผลต่อเนื่องไม่จำเป็นต้องปรับแต่ง มีที่ปลูกไว้ ทั้งขนุน ลำไย (มี 2 ต้น แต่ยังไม่เคยให้ผลเลย) มะขาม มะยม สำหรับไม้ผลที่ตัดแต่งมีทั้ง ต่อยอดมะนาวและมะกรูดบนต้นส้มโอ ต่อยอดมะม่วงเขียวเสวยบนต้นมะม่วงสามฤดู ตัดแต่งใบมัลเบอร์รี่ เพื่อให้ออกผล (ซึ่งก็ได้ผลมากจนต้องแบ่งให้น้องชายช่วยทานด้วย) และปลูกอโวคาโด พันธ์ุ Peterson 2 ต้น บูท 7 อีก 5 ต้น นอกจากนั้นสวนหลังบ้านยังมีทั้งมะละกอ กล้วย และผักสวนครัว
ในการเข้าไปจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงอื่นๆ ก็จะต้องดูก่อนว่ามีอะไรปลูกอยู่บ้างแล้ว ถ้าไม่จำเป็นต้องปลูกเพิ่มใหม่ ก็จะตัดแต่ง ต่อยอด เพื่อให้มีสภาพบ้านสวน หรือสามารถเป็นพืชเศรษฐกิจต่อไปได้
วันที่ 14 มิถุนายน เป็นวันพระใหญ่ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 7 เริ่มต้นแต่เช้า ถวายผลไม้มี กล้วยน้ำว้า แอปเปิ้ล ส้ม มะพร้าว สัปปะรด มะพร้าว และ ขนุน แก่องค์พระโพธิสัตว์กวนอิม เสร็จแล้วถวายภัตตาหาร (แกงป่า ไข่เจียว และแกงส้ม ห่อหมก นมเปรี้ยว และกล้วยน้ำว้า) จำนวน 2 ชุด เป็นสังฆทาน แก่พระสงฆ์วัดเสมียนนารี และเมื่อกลับถึงบ้านแล้ว จุดธูป 9 ดอก ถวายพวงมาลัยดอกดาวเรือง พระมหามุนี รัตนโคดม และสวดบูชาพระรัตนตรัย และสวดบูชาองค์ท้าวเวสสุวัณ 9 จบ ขอให้สำเร็จสมปรารถนาดังตั้งใจเทอญ สาธุ
วันที่ 19 มิถุนายน ได้เดินทางเข้าโคราช แวะร้านบ้านสวน กลางดง เพราะสั่งอโวคาโด้ ปีเตอร์สัน (พันธุ์ที่คิดว่าหวานมันที่สุด) 25 กิโลกรัม แบ่งไปถวายพระที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชรส่วนหนึ่ง แบ่งให้คุณชาญ ที่ตลาดแม่กิมเอ็ง คนที่จัดบายศรีและพวงมาลัยให้ เวลากลับมาโคราช และมาแวะร้านขนมบ้านคุณย่า ได้กะหรี่ปั๊บ 1 กล่องกลับบ้านกรุงเทพฯ และฝากทนายจักพงษ์อีก 1 กล่อง เพราะนัดคุยงานกันที่ร้านกินข้าวบ้านเฮ้าส์ ในตัวอำเภอปากช่อง สั่ง กุ้งราดน้ำมะขาม ไก่ย่าง ครึ่งตัว แกงส้มกุ้งชะอมทอด หมูทอดกรอบพริกแกง ผัดกะหล่ำปลีน้ำปลา ข้าวสวยอีก 1 โถ 5 รายการ 520 บาท ไม่มีร้านไหนในปากช่องและเขาใหญ่ ได้ถูกกว่านี้อีกแล้ว
คืนนี้นอนพักที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชร ตั้งแต่เช้าก่อนรับบุญรดน้ำต้นไม้ที่ปลูกไว้หน้าอาคารที่พัก(โดยเฉพาะต้นอโวคาโดที่ปลูกไว้ 26 ต้นที่ศูนย์) ได้ไปกราบพระพุทธรูปและหลวงปู่สด วัดปากน้ำ บ้านพักทั้ง 2 หลังนี้ มีสระน้ำขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้า ด้านหลังเป็นแนวเขายาวตลอดพื้นที่ ต่อจากบ้านน่าที่จะนำรถบ้านมาจอดอีก 2 คัน เพื่อสาธุชนที่สนใจมาพักเพื่อปฏิบัติธรรม
ครั้นได้เวลาเพลแล้ว ได้ถวายภัตตาหาร (เป็ดพะโล้ แกงวุ้นเส้น ผัดหน่อไม้ และไข่เจียวฟู)
สำหรับแนวทางที่จะพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมนี้ต่อไป ได้พาพระอาจารย์สุนันทน์ และพระอาจารย์วิทยา เข้าเยี่ยมชม ศูนย์ปฏิบัติธรรมธรรมโมลี มีพระครูศรีธรรมานุศาสก์ ให้การต้อนรับพาชมอาคารปฏิบัติธรรม โดยกำลังจะมีเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเข้ามาปฏิบัติธรรม 5 วัน สาธุ
ต่อมาได้นำพระอาจารย์ทั้งสองแวะเข้าเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติธรรมแสงธรรมส่องชีวิตของพระเดชพระเดชพระคุณพระโสภณธรรมภาน แห่งวัดพระพุทธแสงธรรม อำเภอหินกองสระบุรี บริเวณของศูนย์ฯ ทั้งอาคารปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่มาก ด้านบนจะสามารถจุคนมาปฏิบัติธรรมได้ถึง 500 คน ชั้นล่างจะแบ่งเป็นที่พักชาย ที่พักหญิง หากต้องการพักเดี่ยวจะมีเรือนพักเรียงรายอยู่ในบริเวณศูนย์ฯ เป็นที่พอใจของพระอาจารย์ทั้งสองเป็นอย่างยิ่ง เสร็จแล้วผม และคุณชัยวัฒน์ ปัญญกร จะได้นำแนวทางของพระอาจารย์ทั้ง 2 ไปเตรียมแผนการพัฒนาพื้นที่ของศูนย์ฯ ต่อไปโดยเร็ว
เพื่อรับบุญใหญ่ให้ผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคจึงได้เข้าสู่โหมดของการทำบุญ 3 วัน ระหว่าง 23-25 มิถุนายน สวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญไถ่ชีวิตโค-กระบือ ช่วยเหลือผู้ที่ลำบากกว่า - เริ่มต้นจาก ร่วมบุญกับ พ.ท.เพชรไทย ธรรมสมบูรณ์จัดหา "โซล่า เซลล์” ให้สานักสงฆ์ "ปัญจคีรี” ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง กาญจนบุรี 2,500 บาท - “ต่อบุญ ต่อชีวิต” เริ่มต้นเมื่อ 5 ธันวาคม 64 ร่วมบุญไถ่ชีวิตโค-กระบือ ครั้งที่ 31 15,000 บาท และ”ไถ่ชีวิต โค-กระบือ” 19 เม.ย. 65 2,500 บาท และในวันนี้ 24 มิถุนายน 65 “ไถ่ชีวิต โค-กระบือ” 2,500 บาท - ร่วมบุญสวดอภิธรรมศพพี่ชายคุณธนภร อังกูรภัคธรรม ต้นบุญคณะศรัทธาวัดไตรมิตรวิทยาราม 3,000 บาท
วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน เริ่มบอกบุญงานทอดผ้าป่าศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชร ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง นครราชสีมา โดยแวะทานข้าวกลางวันที่ร้าน "วุ้นเส้นท่าเรือ” จุดแรกที่ไปบอกบุญ คือคุ ณปิยพร สุนทรคล้อย เศรษฐีที่ดิน กาญจนบุรี พร้อมกับนำต้นอโวคาโด 5 ต้นให้ปลูกในคฤหาสน์หลังงาม อำเภอท่าม่วง กาญจนบุรี
วันพระนี้ (28 มิถุนายน) ได้ไปทำบุญที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชร อำเภอปากช่อง อีกครั้ง ได้ผลไม้ คือ ส้มโอ และมียังมีข้าวโพดต้มและน้าข้าวโพด ไปถวายพระอาจารย์ และในโอกาสที่พระเดชพระคุณพระธรรมคุณาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 8 และ พระศรีรัตนากร รองเจ้าคณะภาค 2 ได้มาเยี่ยมศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชร จึงได้ร่วมพานำชมกับพระอาจารย์สุนันท์ และพระอาจารย์วิทยา ในโอกาสนี้พระธรรมคุณาภรณ์ได้มอบปัจจัยให้ศูนย์ปฏิบัติธรรมสำหรับจัดบวชพระอีกด้วย
ในโอกาสที่รับเป็นประธานเอกทอดผ้าป่ามหากุศล 3 กองบุญ วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม 2565 เวลา 10:00 - 11:00 น. ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมตะวันเพชร ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง นครราชสีมา เรียนเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมทาบุญด้วยกันครับ สาธุ
Share :
Write comment