ประวัติศาสตร์ศิลปะจีน (HISTORY OF CHINESE ART) | ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
ประวัติศาสตร์ศิลปะจีน (HISTORY OF CHINESE ART)
Out of stock
ประวัติศาสตร์ศิลปะจีน (HISTORY OF CHINESE ART)

ประวัติศาสตร์ศิลปะจีน (HISTORY OF CHINESE ART)

Author : กำจร สุนพงษ์ศรี

Softcover

฿ 86.00

320.00

Discount 73 %

TAGS :

Book info

Barcode : 9789740335528

ISBN : 9789740335528

Year of print : 4 / 2559

Size ( w x h ) : 190 x 260 mm.

Number of pages : 452 Pages

Book category : ศิลปกรรม

Product details : ประวัติศาสตร์ศิลปะจีน (HISTORY OF CHINESE ART)

หนังสือเล่มนี้ได้กำหนดวิธีเขียนไว้ดังนี้ 1. มีเนื้อหากล่าวครอบคลุมถึงที่มาของประวัติศาสตร์ทั่วไป เพื่อเป็นการปูพื้นฐานเกี่ยวกับรู้ทั่วไปของสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองแต่ละยุคแต่ละสมัยอย่างคร่าวๆ เสียก่อน จากนั้นจึงกล่าวถึงศาสนา ลัทธิ และความเชื่อ เพราะเป็นแหล่งกำเนิดของสุนทรียศาสตร์ ประเพณี รสนิยม และความเชื่อ ความนับถือ อันเป็นแรงจูงใจให้สร้างสรรค์ศิลปกรรมขึ้นมา นอกจากนี้ยังกล่าวถึงด้านวรรณคดีบ้าง เพราะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่กับศิลปกรรมอย่างแนบแน่น 2. เน้นเนื้อหาใจความทั้งหมดอยู่ที่ศิลปกรรม อันได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และประยุกต์ศิลป์ แต่อาจกล่าวถึงศิลปะสาขาใดสาขาหนึ่งมากเป็นพิเศษ หากในยุคนั้นสมัยนั้นศิลปะชนิดนั้นมีบทบาทสำคัญ ดังตัวอย่างเช่น จิตรกรรม จะกล่าวถึงมากกว่าศิลปะสาขาอื่น ทั้งนี้ เป็นเพราะจิตรกรรมถือเป็นผลงานขั้นสูงสุดเหนือกว่างานศิลปะสาขาอื่นใด หรือบางยุคบางสมัย ประติมากรรมอันเป็นงานขั้นวิจิตรศิลป์ยังไม่มีความดีเด่นทัดเทียมกับเครื่องเคลือบดินเผาซึ่งเป็นงานประยุกต์ศิลป์ จึงต้องกล่าวถึงงานเครื่องเคลือบดินเผามากกว่า เป็นต้น 3. ให้ความสนใจในเรื่องของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และผลงานที่เกี่ยวข้องกับจิตใจโดยตรง กล่าวถึงผลงานที่มีคุณค่าทางศิลปะสูงมากกว่าที่จะกล่าวถึงผลงานที่มีผู้รู้จักกันมาก แต่คุณค่าทางศิลปะอยู่ในระดับธรรมดา ดังเช่น กล่าวยกย่องถึงผลงานของเต้าสือ จิตรกรเอกในสมัยต้นราชวงศ์ชิง มากกว่าจะกล่าวถึงการสลักงาช้างซึ่งถือเป็นงานประณีตศิลป์ในสาขาประยุกต์ศิลป์ 4. ในด้านการออกเสียง จะยึดถือเอาสำเนียงของภาษาจีนกลางของทางราชการจีนเป็นบรรทัดฐาน ดังเช่น ปักกิ่ง (Peking) จะอ่าน เป่ยจิง (Beijing) , นานกิง (Nanking) เป็น หนานจิง (Nanjing) ส่วนชื่อศิลปินจีนที่กำกับภาษาอังกฤษไว้ด้วยนั้น เมื่อเทียบกับภาษาไทยที่ผู้เรียบเรียงเขียนดูค่อนข้างจะแตกต่างกัน ดังเช่น ปาต้าซาน เหริน (Pata-shan-yen) ซึ่งเขียนภาษาไทยตามสำเนียงจีนกลาง ส่วนภาษาอังกฤษกำกับไว้เผื่อต้องการไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ เนื่องจากชื่อที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นเป็นที่รู้จักกันในระดับสากลอย่างแพร่หลายแล้ว

Related products

Customers who bought this product Also bought this product

Review score from buyers

0 Full 5 Star
0 People
0
0
0
0
0