อี-บุ๊ค
฿ 50.00
150.00
ประหยัด 66 %
Barcode : 3000000000559
หมวดหนังสือ : พจนานุกรม/อ้างอิงสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
ศัพท์คอมพิวเตอร์มีความเป็นประวัติศาสตร์ คำศัพท์ที่เคยเด่นดังในช่วงเวลาหนึ่ง อาจกลายเป็นคำศัพท์พื้นฐานในเวลาต่อมา เช่น internet, e-mail, download และอีกหลาย คำศัพท์ที่เคยทันสมัยมากในครั้งหนึ่ง แต่วันนี้กลับกลายเป็นคำศัพท์พื้นฐานที่คนรุ่นหลังไม่รู้จัก เสียด้วยซ้ำไป เช่น โปรแกรม dBASE III Plus, CU Writer, LOTUS 1-2-3 และ Netscape Navigator เป็นต้น บางคำเป็นคำศัพท์เทคนิคที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปอาจไม่เคยรู้จัก เช่น DIMM ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับแรม และคำว่า Co-lo ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้บริการเช่าพื้นที่บนเครื่อง เซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น บางคำศัพท์ก็ใหม่มากเสียจนตามไม่ทัน หากจะว่าไปแล้ว ศัพท์คอมพิวเตอร์ และศัพท์เทคโนโลยี ถือเป็นคำศัพท์ที่มาเร็ว แล้วก็กลายเป็นคำศัพท์พื้นฐานในเวลาอันรวดเร็ว เช่นกัน ตัวอย่าง nano technology, hi5, facebook และ 3G เป็นต้น หนังสือเล่มนี้ขอร่วมเป็นประวัติศาสตร์กับคำศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ที่เมื่อเวลา ผ่านไปอาจกลายเป็นของเก่าที่ไม่ค่อยได้ใช้ หรือคนรุ่นต่อจากนี้ไม่รู้จักเลยก็ได้ หนังสือเล่มนี้ อาจกลายเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเก็บสะสมก็ได้ จะได้เอาไว้เปิดอ่านในวันเปลี่ยนวัย ขอขอบคุณ ทุกท่านที่ให้เกียรติใช้หนังสือเล่มนี้เป็นอาหารสมอง อนึ่ง หนังสือเล่มนี้เน้นเขียนทับศัพท์ภาษาไทยที่สอดคล้องกับมาตรฐานกลางของ “สำนักราชบัณฑิตยสถาน” ตัวอย่าง animation เขียนทับศัพท์ภาษาไทยเป็นแอนิเมชัน (แต่ไม่ เขียนเป็น “แอนนิเมชัน”) หรือภาษา Pascal เขียนทับศัพท์ปาสกาล (แต่ไม่เขียนเป็น “ปาสคาล”) หรือ bluetooth เขียนทับศัพท์บลูทูท (แต่ไม่เขียนเป็น “บลูทูธ”) บางคำศัพท์เมื่ออ่านแล้วอาจ ขัดต่อความรู้สึกของผู้คนตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น คำว่า video คนรุ่นใหม่นิยมอ่าน/เขียนว่า “วิดีโอ” แต่มีน้อยคน (โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่) ที่ใช้คำ “วีดิทัศน์” จะเห็นว่า บางคำศัพท์ไม่นิยม เขียนชื่อที่แปลเป็นไทย เนื่องจากสื่อสารแปลกหูแปลกตา เช่น คำว่า record มีใครสักกี่คนที่เขียน “ระเบียน” แต่มักเขียนทับศัพท์ “เรคอร์ด” มากกว่า เป็นต้น ดังนั้น ในบางคำศัพท์จึงขอคงไว้ ตามสมัยนิยม เช่น “วิดีโอ” (video) จะไม่เขียน “วีดิทัศน์” เป็นต้น