อี-บุ๊ค
฿ 250.00
250.00
ประหยัด 0 %
Barcode : 3000000023397
หมวดหนังสือ : หลักการวิจัย
ที่มาของความสนใจที่เขียนตำราหรือหนังสือเล่มนี้เกิดมาจากในช่วงที่เป็นที่ปรึกษา นักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ตามสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน ระยะหลัง ๆ มักทำ “การออกแบบวิจัยแบบผสมผสานวิธี ในการแสวงหาความรู้ ความจริง และ ความหมาย ขณะเดียวกันปัญหาที่นำมาทำการวิจัยในระยะหลังเป็นปัญหาที่เลวร้าย” (Wicked problems) ที่หากใช้ แนวทางการวิจัยแนวทางใดแนวทางหนึ่ง คือ แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพที่ถือว่าเป็นแนวทางแบบ ดั้งเดิม (Traditional approach) ไม่สามารถได้มาซึ่งคำตอบในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ทางผู้เขียนหวังว่าตำราหรือหนังสือเล่มนี้ คงช่วยให้บรรดานักวิจัยหรือนักศึกษาปริญญาโทหรือปริญญาเอกที่ สนใจการวิจัยและการออกแบบวิจัยแบบผสมผสานวิธี นำแนวทางเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ของตนของพวกตนในการแสวงหาความรู้ความจริงและความหมาย ขณะเดียวกันถ้าปัญหาการวิจัย ที่ผู้สนใจการวิจัยแนวทางนี้ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยหรือนักศึกษาปริญญาโทหรือปริญญาเอกทางสังคมศาสตร์และ พฤติกรรมศาสตร์ ที่ควรนำมาศึกษาควรเป็น ‘ปัญหาเลวร้าย’ (Wicked problems) กล่าวได้ว่าการออกแบบการวิจัยตามแนวทางเหล่านี้จะทำให้มาซึ่งผลลัพธ์ของการวิจัยที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เลวร้ายที่เกิดขึ้นได้ ในแง่ดังกล่าวตำราหรือหนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือหรือตำราที่เป็นทางเลือกในการทำวิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างเป็นระบบ