หนังสือปกอ่อน
฿ 445.00
495.00
ประหยัด 10 %
Barcode : 9786168215630
ISBN : 9786168215630
ปีพิมพ์ : 1 / 2566
ขนาด ( w x h ) : 165 x 240 mm.
จำนวนหน้า : 376 หน้า
หมวดหนังสือ : วิทยาศาสตร์ทั่วไป
“บูรณาการความรู้” “สหวิทยาการ” “การข้ามสาขาวิชา” ดูจะเป็นคำยอดนิยม สำหรับการสร้างจุดขาย ทั้งแก่นโยบายอุดมศึกษา การวิจัย หลักสูตร ฯลฯ ในรอบสองถึงสามทศวรรษที่ผ่านมา คำเหล่านี้ดูท่าจะสะท้อนว่า แม้สาขาวิชาแต่ละอย่างจะสำคัญ แต่ก็ไม่เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหาที่โลกร่วมสมัยต้องเผชิญ และแม้การบูรณาการเป็นไปได้หลายแบบ แต่การบูรณาการที่มักเป็นที่พูดถึงคือ ฟากหนึ่ง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับอีกฟากหนึ่ง สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
อย่างไรก็ดี ก็มีความยุ่งยากภายใต้ม่านอันสวยงามของคำว่าบูรณาการนั้น เช่น อำนาจทางความรู้ที่ไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นไปในทางประยุกต์ ดูจะมีบทบาทนำมากกว่า ทั้งในแง่ของการเป็นคำอธิบายหลัก และการบริหารจัดการ อีกทั้งเป็นเป้าประสงค์หลัก โดยที่สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เป็นแค่ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดการยอมรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น หรือเป็นลูกไล่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง บทบาทของสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้กลายเป็นเครื่องมือให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเดินทางสู่เป้าหมายของการเกิดประโยชน์ใช้งานเท่านั้นเอง
อีกด้านหนึ่ง ราวกับการโต้กลับ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็รื้อถอนการอ้างถึงความเชื่อว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหนทางสู่ความจริงเพียงเจ้าเดียว ดังที่ความรู้ในโลกร่วมสมัยมีความไม่แน่นอนสูงเสียจนมีการถามท้าการอ้างความถูกต้องของผู้เชี่ยวชาญ และการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองขับเคลื่อนก็เป็นที่กังขาอย่างสูงยิ่ง คำถามเชิงจริยธรรมที่ข้องเกี่ยวกับการอยู่รอดของความเป็นมนุษย์และสรรพสิ่งก็เป็นประเด็นด้วยเช่นกัน โดยนัยนี้เอง บทบาทเชิงวิพากษ์ของสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีความต้องการสูงขึ้น แม้จะไม่ก่อให้เกิดโภคผลแบบจับต้องได้ในทันที แต่ก็เปิดพื้นที่แก่ประชาธิปไตย และเรียกร้องบทสนทนาระหว่างสองฟากความรู้นี้ ให้ข้ามพ้นแค่การหักล้าง แต่ไปสู่การร่วมสร้างอย่างเท่าเทียมกัน