อี-บุ๊ค
฿ 260.00
300.00
ประหยัด 13 %
Barcode : 3000000020024
หมวดหนังสือ : กฎหมายปกครอง
ขณะที่ข้าพเจ้าดำเนินโครงการวิจัยที่กลายมาเป็นหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าได้เดินทางพูดคุยกับผู้คนในสามประเทศ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ และ อินเดีย นอกเหนือจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการรับมือ ผู้ชุมนุมแล้ว หากสบโอกาส ข้าพเจ้าพยายามสอบถามความเห็นของคนท้องถิ่น เกี่ยวกับตำรวจและองค์กรตำรวจ ประชาชนทั่วไปจากทั้งสามประเทศมักตอบ เป็นเสียงเดียวกันว่าตำรวจในประเทศตนคดโกงบ้าง เอาเปรียบประชาชนบ้าง ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ไร้ประสิทธิภาพในการรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน คำพร่ำบ่นยืดยาวจนเกินกว่าข้าพเจ้าจะรวบรวมมาใส่ในรายงานวิจัยชิ้นนี้ซึ่งมิได้ มุ่งสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่องานตำรวจ อย่างไรก็ดีที่ข้าพเจ้าคิดว่า น่าสนใจคือการที่ประชาชนในไทย ฟิลิปปินส์ และอินเดียซึ่งมีระบบการเมืองและ วัฒนธรรมต่างกัน ต่างขาดความเชื่อมั่นในเจ้าหน้าที่ตำรวจและองค์กรตำรวจ บางทีข้าพเจ้าแอบคิดในใจว่าเป็นบุญอย่างมากที่ไม่ต้องทำงานวิจัยเรื่องการปฏิรูป องค์กรตำรวจ เพราะดูทางแล้วไม่ง่ายเลย กระนั้นก็ตามในการสำรวจเรื่องการ รับมือผู้ชุมนุม ข้าพเจ้าพบว่าองค์กรตำรวจในสามประเทศมีพัฒนาการมากบ้าง น้อยบ้างตามแต่สภาพการเมืองในประเทศนั้นๆ จะอำนวย แต่เมื่อเปรียบเทียบ กับงานตำรวจด้านอื่นๆ เช่นการปราบปรามอาชญากรรม ยาเสพติด การค้า มนุษย์ หรือกระทั่งงานจราจร ดูเหมือนว่าบทบาทของตำรวจเมื่อเผชิญหน้ากับ ผู้ชุมนุมมีแนวโน้มที่จะปรับปรุงได้บ้าง เหตุผลสำคัญคือ การชุมนุมเกิดในพื้นที่ สาธารณะอันส่งผลให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกจับจ้องโดยสาธารณชน ความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานดังกล่าว (เช่น เจ้าหน้าที่ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ หรือใช้กฎหมายละเมิดสิทธิของประชาชนในการชุมนุมอย่างสงบ) ก่อให้เกิดการ วิจารณ์อย่างกว้างขวาง รวมถึงการดำเนินคดีความกับเจ้าหน้าที่ หลายครั้งแรง กดดันนี้กรุยทางให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายที่ลดการเผชิญหน้าระหว่าง ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจ