การศึกษาปฏิญญาการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยของไทย | ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
การศึกษาปฏิญญาการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยของไทย
only ebook
การศึกษาปฏิญญาการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยของไทย

การศึกษาปฏิญญาการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยของไทย

ผู้แต่ง : สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ

อี-บุ๊ค

฿ 249.00

280.00

ประหยัด 11 %

TAGS :

ข้อมูลหนังสือ

Barcode : 3000000011159

หมวดหนังสือ : การบริหารการศึกษา

รายละเอียดสินค้า : การศึกษาปฏิญญาการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยของไทย

การศึกษาปฏิญญาการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยของไทย “กรรมการทั้ง 3 ประเภท เป็นคณะบุคคลขององค์กรที่เรียกว่าสภามหาวิทยาลัยก็ต้องทำหน้าที่ทุกด้าน เหมือนกันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติของแต่ละแห่งเพื่อให้ได้มติที่ดีที่สุด กรรมการทุกคนจึงต้องมีความเข้าใจ เข้าถึงอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัย อำนาจหน้าที่สภาและใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเองในการพิจารณา เรื่องตามอำนาจหน้าที่ การที่สภามหาวิทยาลัยให้มีนานาทัศนะเพื่อให้เกิดความรอบคอบ รอบด้านในการตัดสินใจและ วินิจฉัยเรื่องเพื่อเป็นผลที่มหาวิทยาลัยนำไปปฏิบัติ กรรมการแต่ละประเภทแม้จะมีการกำหนดที่มาแตกต่างกันแต่ก็ เลือกมาให้ทำหน้าที่กรรมการสภาฯ มิใช่เลือกมาให้เป็นตัวแทนพิทักษ์ผลประโยชน์ของกลุ่มใดโดยเฉพาะ” ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนที่ 72 หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับองค์ความรู้ว่าด้วยปฏิญญาการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยของไทย ซึ่งเป็นผลการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยผสมวิธีพหุระยะ สาระสำคัญของหนังสือประกอบด้วย อำนาจ หน้าที่ และบทบาท ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยของรัฐ การรับรู้จุดเน้นการปฏิบัติหน้าที่และบทบาทของกรรมการสภามหาวิทยาลัยแต่ละ ประเภท หลักการสำคัญที่กรรมการสภามหาวิทยาลัยต้องยึดมั่น และจรรยาบรรณของกรรมการสภามหาวิทยาลัยของไทย ได้แก่ จรรยาบรรณต่อตนเองและผู้อื่น จรรยาบรรณต่อกรรมการสภามหาวิทยาลัยด้วยกันเอง จรรยาบรรณต่อมหาวิทยาลัย และจรรยาบรรณต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ หนังสือจากผลวิจัยเล่มนี้เหมาะสำหรับกรรมการสภามหาวิทยาลัยของไทยทุกประเภท ทั้งประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ ประเภทผู้บริหาร และประเภทคณาจารย์หรือพนักงานมหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้บริหาร นักวิชาการ นักวิจัย นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไปที่มุ่งหวังให้สภามหาวิทยาลัยของรัฐต้องรับผิดชอบต่อเจ้าของคือ ประชาชน สังคม และประเทศชาติ หรือสาธารณะ ต้องรับผิดชอบต่อกฎหมาย คือมีอำนาจตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยของรัฐและอำนาจหน้าที่ตามที่ ได้รับมอบหมายตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และต้องมีความรับผิดชอบต่อจรรยาบรรณของสภามหาวิทยาลัย อันจะก่อให้เกิด ประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล รวมทั้งมีอัตตาภิบาลของสภามหาวิทยาลัย

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คะแนนรีวิวจากผู้ซื้อจริง

0 เต็ม 5 ดาว
0 คน
0
0
0
0
0