
เงินออมก้อนแรกที่ทุกคนควรมี เพราะเป็นเงินที่สามารถนำมาใช้ได้หากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เช่น ตกงาน เจ็บป่วย เราควรวางแผนให้ดี เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับชีวิตดเรา เงินก้อนนี้ควรมีสภาพคล่องสูง ความเสี่ยงต่ำ พร้อมใช้งานเมื่อถึงคราวจำเป็น
เงินออมฉุกเฉิน ควรมีอย่างน้อยๆ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือน จะมาก หรือน้อย ให้ดูที่ความเสี่ยงของอาชีพ เช่น
- มนุษย์เงินเดือน หรือคนที่มีรายไ้ด้ประจำ ควรมีเงินออมฉุกเฉิน ประมาณ 6 เท่าของรายจ่ายแต่ละเดือน
- ข้าราชการ เป็นอาชีพที่มีความมั่นคง อาจจะมี 3 เท่า - 6 เท่า ได้
- อาชีพที่รายได้ไม่แน่นอน เช่น แม่ค้า ฟรีแลนด์ ธุรกิจส่วนตัว ควรมีเงินออม 6 - 12 เท่า

แหล่งเก็บเงินออม
- เก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์แบบมีสมุด สภาพคล่องสูง ถอนได้ทุกเมื่อ ความเสี่ยงต่ำ มีดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในช่วง 0.125 - 0.25% ต่อปี แล้วแต่ธนาคาร ได้รับดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ทุก 6 เดือน
- เก็บในบัญชีออมทรัพย์แบบดิจิทัล ไม่มีสมุด ไม่มี ATM สามารถกดถอนเงินแบบไม่ใช้บัตรได้ ดอกเบี้ย ประมาณ 1.2 - 1.5% ต่อปี ซึ่งจะสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์แบบมีสมุด ได้รับดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ทุก 6 เดือน หรือบางธนาคารจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน
- ฝากประจำแบบปลอดภาษี สามารถทะยอยเก็บแต่ละเดือน เดือนละเท่าๆ กัน ส่วนใหญ่จะเริ่มที่ 1,000 - 25,000 บาท สามารถหักบัญชีฝากอัตโนมัติได้ ดอกเบี้ยจะอยู่ที่จำนวนเดือนที่ฝากด้วย ถ้าจำนวนเงินมาก ดอกเบี้ยก็จะสุง ข้อดี เมื่อถึงกำหนด ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเงินฝาก
- ฝากประจำทั่วไป (ฝากเป็นก้อน) เช่น ฝากประจำ 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน 24 เดือน ถ้าจำนวนเดือนสูง ดอกเบี้ยจะสูงขึ้น
- กองทุนรวมตลาดเงิน ความเสี่ยงต่ำที่สุด (ระดับที่ 1) ผลตอบแทนในปัจจุบัน ประมาณ 1 - 1.5%
- เก็บในสลากออมทรัพย์ ความเสี่ยงต่ำ เงินต้นไม่หาย ดอกเบี้ยไม่สูงนัก แต่ระหว่างทางมีลุ้นรางวัล เช่นสลากออมสิน , สลาก ธ.ก.ส. หรือสลาก ธ.อ.ส.
สามารถแบ่งการฝากในแต่ละแหล่งได้ เช่นเงินบางส่วนซื้อสลาก บางส่วนเก็บในกองทุนรวม บางส่วนเก็บในบัญชีออมทรัพย์
ตั้งเป้าหมายกันเถอะ...เก็บเงินออมฉุกเฉิน เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต 3 - 6 เท่าของรายจ่ายแต่ละเดือน
...อย่าใช้เพลิน เกินจำเป็น... #ออมก่อนรวยก่อน
เขียนความคิดเห็น