ราคารวม : ฿ 0.00
By: รณยุทธ์ จิตรดอน
ทัวร์บุญคราวใหม่นี้ อยู่ในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงกัน คือ สระบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา
เริ่มต้นวันนี้โดยเข้าร่วมพิธีเททองหล่อพระประธาน (พระพุทธวชิรมงคลตรีโลกเชษฐ์ วิเศษมงคลกาล) ประจําสถานปฏิบัติธรรมธรรมมงคลนานาชาติ อําเภอพระพุทธบาท สระบุรี
นําแผ่นทองใส่เบ้าหลอม(มีของตนเอง คุณไพรัช เล้าประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บมจ.สโตนเฮ้นจ์ ที่ได้ร่วม ทําบุญมาด้วย) สําหรับเข้าพิธีหล่อพระในเวลา 15:39 น อีกครั้ง สาธุ
ได้มอบปัจจัยถวายพระครูสมุห์ สุเมธ รักขิตธรรมโม(หลวงปู่เสือ) ประธานสงฆ์ และท่านได้มอบพระมงคล บารมี ให้ไว้บูชา สาธุ
มาอําเภอพระพุทธบาทก็ต้องมา กราบรอยพระพุทธบาท ที่ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อันพระพุทธ องค์ได้เสด็จมาดินแดนที่เป็นศิริมงคล ตามตํานานอ้างไว้ว่ารอยพระพุทธบาทที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ ประทับไว้แล้ว ได้แก่ เขาสุวรรณมาลิก (ศรีลังกา) เขาพระพุทธบาท (ไทย) เขาสุมนกูฏ (ศรีลังกา) เมืองโยนกบุรี (ไทย) และหาดทรายในลําน้ํามหานที่(อินเดีย) ซึ่งรอยพระพุทธบาทในจังหวัดสระบุรี มีความกว้าง 21 นิ้ว ยาว 60 นิ้ว ลึก 11 นิ้ว พระมณฑปใหญ่โดยมีบุษบกครอบ บนไหล่เขาสุวรรณบรรพต (เขาสัจจพันธ์คีรี) ตั้งอยู่ตําบลขุนโขลน อําเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นหนึ่งใน 5 แห่ง ดังกล่าวไว้ในคัมภีร์
เมื่อสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้ทรงพระกรุณาให้สร้างบริเวณเขตอารามทั้งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส ทั้ง ปวง 4 ปีจึงเสร็จ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จขึ้นไปทําการฉลองมีงานมหรสพสมโภชน์ 7 วัน แล้วเสด็จกลับ จนได้ กําหนดงาน เทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาท ในวันขึ้น 1 ค่ําถึงวันขึ้น 15 ค่ํา (วันเพ็ญเดือน 3) ครั้งหนึ่ง และในวัน ขึ้น 8 ค่ํา ถึง วันขึ้น 15 ค่ํา (วันเพ็ญเดือน 4) เป็นประเพณีนมัสการอยพระพุทธบาทเทศกาลเดือน 3 และเดือน 4 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
วัดมงคลชัยพัฒนา ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตําบลห้วยบง อําเภอเฉลิมพระเกียรติ สระบุรี สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลาย รัชกาลที่ 4 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกในรัชกาลที่ 7 เมื่อปลายปี 2474 และครั้งที่ 2 เมื่อ วันที่ 11 มีนาคม 2528
(โครงการต่อยอดเกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงสาธิต โคกหนองนาโมเดล วัดมงคลชัยพัฒนา ต.ห้วยบง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ดําเนินการตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๕๗)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดําริ “บ้าน วัด โรงเรียน” หรือ บวร เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2521 ให้แก่ส่วนราชการและภาครัฐต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้จัดเป็นศูนย์รวมจิตใจและศรัทธาในการประสานงานพัฒนา ทั้งทางวัตถุ และจิตใจ พร้อมกับเป็นสถานที่ให้ความรู้ อบรม แลกเลี่ยนทางด้านเกษตรกรรม เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้น จึงมีพระราชดํารัสให้จัดตั้ง “โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดําริ” ขึ้น ณ บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี ดังนั้นการพัฒนาอาชีพด้านเกษตรกรรมจึงได้กําเนิดขึ้น ณ บริเวณวัดมงคล ชัยพัฒนา ต่อจากนั้นทรงพบว่ามีวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี ที่มีความยากจนดังที่ทรงจินตนาการไว้ จึงมี พระราชดําริเมื่อปี พ.ศ. 2531 ให้เจ้าหน้าที่มูลนิธิชัยพัฒนา จัดกาที่ดินเพื่อดําเนินการพัฒนาด้านการเกษตรกรรม ตามแนวพระราชดําริ “ทฤษฎีใหม่” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้แก่เกษตรกรในการทดลองทํา เป็นตัวอย่าง ให้เห็นเป็นรูปธรรมแห่งแรกของประเทศไทย
ปูชนียวัตถุณปูชนียสถาน ที่สําคัญ
1.พระพุทธรูปปางมารวิชัย
2.พระบรมรูปหล่อโลหะสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
3.พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุพรทิศจําลอง
4.โครงการทฤษฎีใหม่
5.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสิรินวัดมงคลชัยพัฒนา
วัดสุดท้ายที่มาเยือนในวันนี้ เป็นวัดตั้งอยู่ในเขตภูเขาของอําเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี คือ ”วัดป่าสว่าง บุญ” เจดีย์ 500 องค์ นอกจากได้มากราบขอพรจากพระนิลกาฬ แล้ว ยังได้ทําบุญถวายหินทรายสร้างพระพุทธ ไสยาสน์ ยาว 209 เมตร สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ใกล้จะเสร็จแล้ว เติมน้ํามันตะเกียง ปิดทองลูกนิมิต 8 ลูก และ ผูกผ้า3 สี ช่อฟ้า
สําหรับวันนี้แวะเข้าไป ทําบุญหล่อพระอริยสงฆ์ 4 ภาค 108 องค์ ซึ่งจะตั้งประดิษฐานไว้รอบระเบียงคด รอบองค์เจดีย์ ซึ่งมีพระพุทธทรงเมตตา ประดิษฐานอยู่ภายในเจดีย์ทรงรูปบาตรคว่ํา ซึ่งเป็นรูปเจดีย์ที่ “เมื่อพระ อานนท์ อัครสาวก กราบทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเมื่อพระองค์ดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พวกเราจะระลึกถึง พระพุทธองค์ได้อย่างไร พระพุทธเจ้าให้หยิบจีวร 3 ผืนของพระองค์วางซ้อนกัน แล้วนําบาตรของพระองค์คว่ําลงไป ตรงกลาง” ซึ่งเป็นแบบแผนการสร้างเจดีย์ในยุคแรกๆ แต่ต่อมามีการสร้างครอบ และต่อยอดจนกลายเป็นเจดีย์ ยอดแหลม โดยศรีลังกาเป็นประเทศแรกที่ทําการต่อยอดเจดีย์ เพราะต้องการให้เป็นลักษณะเฉพาะตน แต่ได้ กลายเป็นต้นแบบของรูปทรงเจดีย์ในยุคต่อๆ มา
วัดพระพุทธแสงธรรม นี้ มีพื้นที่ติดถนนพหลโยธิน มีพื้นที่กว่า 300 ไร่ ประกอบด้วยศาสนสถานที่บ่งบอกถึง ความประณีต ตั้งแต่โบสถ์ไม้แดง โรงทาน สถานปฏิบัติธรรม และ เจดีย์ พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมภาณ เจ้า อาวาสยังได้สร้างคุณูประการในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่วัดป่าสว่างวีรวงศ์ อุบลราชธานี สํานักปฏิบัติธรรมแสงธรรม ส่องชีวิตสาขาหินกอง และสํานักปฏิบัติธรรมแสงธรรมส่องชีวิตสาขาปากช่อง
อาหารมื้อกลางวันนี้แวะทานข้าวที่ “ไทรทองการ์เดน” ซึ่งหากมาจังหวัดที่ตั้งอยู่บนลุ่มน้ําป่าสัก ต้องเลือก เมนู กุ้งแม่น้ําผัดพริกเกลือ ต้มยําปลาคัง และ ผัดผักบุ้งกะปิกุ้ง (ไม่ใช่กุ้งแม่น้ํา) ทุกอย่างเลิศรสหมด อาหารมื้อเที่ยง นี้ไม่ได้กะเกณฑ์ไว้ก่อนเลย สังเกตจากมีลูกค้าอุดหนุนเกือบแน่นร้าน (ทริปที่กลับจากเพชรบูรณ์คราวก่อน แวะทาน ข้าวเย็นที่ร้านบนถนนสาย 21 ชื่อร้าน” ธาราดล” ก็เลิศรสเช่นกัน น่าสังเกตว่าร้านใหญ่แถบนี้จะทําอาหารทั้ง ไทย ฝรั่ง และ จีน (!)
เสร็จอาหารกลางวันแล้วเลยต่อไปอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อําเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
เมืองศรีเทพ ถูกค้นพบโดย สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ เมื่อคราวเสด็จตรวจราชการมณฑล เพชรบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2447 - 2448 (เป็นเวลาล่วงแล้วกว่า 117 ปี แต่กรมศิลปากรจะมีอายุครบ 110 ปี ในวันที่ 27 มีนาคม นี้ (!)
เมืองโบราณศรีเทพ นี้มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทางที่สามารถติดต่อกับ ภาคอื่นๆ ได้สะดวก จึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาเขตข้างเคียงมาผสมผสาน เช่น ศิลปะทวาราวดี ศิลปะขอม เป็นต้น เมืองศรีเทพสร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอํานาจซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ํากว่า 1,000 ปี โดยดูจาก หลักฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและวัฒนธรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความ เจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่าเจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษ ที่ 16
เมืองศรีเทพประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เมืองชั้นในและเมืองชั้นนอก มีเนื้อที่ประมาณกว่า 2,800 ไร่ มีกําแพง เมืองที่ก่อด้วยดินล้อมรอบและคูเมืองนอกกําแพง มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ
ภายในเมืองมี ปรางค์สมัยลพบุรีอยู่สององค์ ปรางค์ศรีเทพ (กําลังบูรณะ) ปรางค์สองพี่น้อง ปรางค์องค์พี่ และปรางค์องค์น้อง บริเวณใกล้เคียงกันคาดว่าเป็นที่ตั้งของโบสถ์ เพราะมีพัทธสีมา และใบเสมาตั้งอยู่ทางทิศเหนือ นอกกําแพงเมืองออกไปมีสระน้ําสองแห่ง ชื่อสระแก้วและสระขวัญ
จุดสุดท้ายที่มีความสําคัญสําหรับการใช้ชีวิตสมัย คือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อจัดการระบบน้ําลุ่มแม่น้ําป่าสัก ซึ่งต่อเนื่องกับทุ่งที่ราบภาคกลาง เป็นเขื่อนกักเก็บน้ําที่ใหญ่ ยาว ลึกที่สุดในประเทศไทย ตามแนวพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เพื่อป้องกันปัญหาน้ําท่วมในลุ่มน้ําป่าสัก และ ลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา เริ่มดําเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2537 โดยกรมชลประทาน เป็นผู้รับผิดชอบ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ใช้เวลาดําเนินการก่อสร้างกว่า 5 ปี ทําพิธีปฐมฤกษ์กักเก็บน้ําเขื่อนในวันที่ 15 มิถุนายน 2541 โดยกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จมาเป็นองค์ประธาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ทรงทําพิธีเปิด เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น
รวมถึงให้เราสามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาที่เหมาะสมให้กับคุณอย่างเป็นส่วนตัว
เขียนความคิดเห็น