อี-บุ๊ค
฿ 290.00
350.00
ประหยัด 17 %
Barcode : 3000000023595
หมวดหนังสือ : ดนตรีไทย/นาฏศิลป์ไทย
อีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่และมีจํานวน ประชากรมากที่่สุดของประเทศไทย ทั้งยังมีประวัติัศาสตร์สั์งคมและวัฒนธรรมเก่าแก่สืบเนื่องกันมา หลายพันปีนับตั้งแต่ยุคบ้านโนนวัด บ้านเชียงศรีโคตรบูรณ์ ฟูนั้น เจนละ ล้านช้าง และสยาม-ไทย อีกทั้งการปรากฏของวัฒนธรรมดนตรีอีสานก็มีหลักฐานชัดเจนผ่านเครื่องดนตรีประเภทแคน มโหระทึก กลอง ฆ้อง กระดิ่ง กระพรวน โปง หึน การขับ การเซิ้ง การสวด หมอลํา พิณน้้าเต้า ซอ ปี่ สไล ปี่อ้อ ฯลฯ ซึ่งสัมพันธ์กับประวัติวัฒนาการดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์์ (Southeast Asia) ในฐานะ เป็นพื้นที่ปรับรับวัฒนธรรมจากเส้นทางการค้าทั้งทางบก (จีน-เวียดนาม) อันมีเครื่องมือทางศาสนาผี พื้นเมืองเดิม คือปี่ลิ้นอิสระ แคน มโหระทึก-ฆ้อง กลอง ซึ่งมีแหล่งผลิตสําคัญอยู่ที่มณฑลยููนนาน กวางสี จีนตอนใต้ดองเซินในเวียดนามตอนเหนือ และทางทะเล (อินเดีย-เปอร์เซีย-อาหรับ) อัน มีเครื่องมือทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ เช่น ความรู้ด้านคติความเชื่่อเกี่ยวกับชีวิต และเครื่อง ดนตรีพิธีิกรรมเกียรติยศของชนชั้นปกครอง ประเภทปี่ลิ้นคู่ ซอ พิณ และแตร ได้แพร่เข้ามาตามเส้น ทางนี้ช่วงสถาปนานครรัฐ ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่๗-๘ การปรับรับวัฒนธรรมจากสองเส้น ทางดังกล่าว ปรากฏในวัฒนธรรมดนตรีอีสาน ๓ กลุ่มคือ ๑) กลุ่มวัฒนธรรมหมอลํา (ไทลาว) ๒) กลุ่มวัฒนธรรมเจรียง-กันตรึม (ขแมร์ กูย มอญ) ๓) กลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราช (ไทสยาม)