อี-บุ๊ค
฿ 190.00
190.00
ประหยัด 0 %
Barcode : 3000000015319
หมวดหนังสือ : ดนตรีไทย/นาฏศิลป์ไทย
การศึกษาและการวิจัยดนตรีไทยในช่วง 30 ปี (พ.ศ.2525-2555) เป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายการอนุรักษ์วัฒนธรรมประจำชาติให้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมผ่านระบบการศึกษา โดยการสนับสนุนส่งเสริมให้มีหลักสูตรการศึกษาดนตรีไทยในระดับอุดมศึกษา ประกอบกับผู้มีบทบาทด้านการเรียนการสอนดนตรีไทยในสถาบันอุดมศึกษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเป็นศิลปินและนักวิชาการ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้จากศิลปินของ ราชสำนักที่ส่งต่อความรู้มายังกรมศิลปากร แบบแผนการศึกษาทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติดนตรีไทยจึงเป็นแบบแผนของราชสำนัก อีกทั้งการสร้าง “เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย” เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาดนตรีไทยในระบบการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษาตามแบบแผนของกรมศิลปากร ส่งผลทำให้ดนตรีไทยซึ่งเป็น แบบแผนของราชสำนักสืบทอดในระบบการศึกษา ผลงานวิจัยด้านดนตรีไทยส่วนใหญ่ จึงให้ความสนใจศึกษาวิจัยตามกรอบทฤษฎีดนตรีไทย แม้ว่าวงดนตรีไทยร่วมสมัยมีการสร้างสรรค์ในเชิงธุรกิจ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อีกทั้งการวิจัยในลักษณะสหวิทยาการ การวิจัยข้ามศาสตร์ หรือการวิจัยที่มีเป้าหมายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน จะได้รับความสนใจในแวดวงวิชาการ แต่แนวทางการวิจัยในกรอบทฤษฎีดนตรีไทยตาม “เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย” ยังคงเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับความสนใจศึกษา เป็นงานวิจัยหลักของหลักสูตรดนตรีไทยสืบมาจนปัจจุบัน